โรคกระดูกพรุนในคนชรา ป้องกันได้



โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่พบได้ในผู้สูงอายุทุกคน เกิดจากการทำงานของฮอร์โมนที่ลดลง ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายลดลงตามไปด้วย

สาเหตุของโรค
- การไม่ได้รับแคลเซียมที่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว ทำให้มวลกระดูกไม่หนาแน่น และกระดูกพรุนได้ง่าย
- กรรมพันธุ์ ซึ่งมีโอกาสเป็นสูงถึง 80% ส่วน 20% นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย
- การทานยาแก้โรคบางอย่างที่นำไปสู่การลดความหนาแน่นของกระดูก เช่น คอร์ติโซนยาแก้โรคหืดยาเฮปาริน การรักษาโดยการฉายรังสี หรือการให้สารเคมี เป็นต้น
- การสูบบุหรี่ และดื่มสุราเป็นประจำ จะลดประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย ทำให้กระดูกเสื่อมและหดลงเร็ว
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำอัดลม ชา เป็นต้น ทำให้กระดูกเสื่อมง่ายขึ้น
- การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนของหญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น
- การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำในวัยชรา ทำให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น
- การสูญเสียแคลเซียม ผ่านทางผิวหนัง ปัสสาวะและอุจจาระ และไม่ได้รับการทดแทนเพื่อรักษาระดับแคลเซียมในกระดูก
 - การไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย เมื่อวัยชราโรคกระดูดพรุนเกิดขึ้นรุนแรง ถ้าขาดการออกกำลังกาย และการสูญเสียความแข็งแรงของกระดูก มักเกิดขึ้นในช่วงที่ไม่ได้เคลื่อนไหว เช่น ในขณะนั่งรถเข็น หรือนอนพักฟื้น
- ขาดวิตามินดี เพราะในวิตามินดีมีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ

การป้องกันโรค
- ออกกำลังการสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่มีแสงแดดอ่อนๆ
- เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ควรรีบทำกายภาพบำบัด หรือเคลื่อนไหวร่างกายให้ได้มากที่สุด
- ทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลากระป๋อง หรือปลาที่สามารถทานก้างไปด้วยได้ นมพร่องมันเนย ผักผลไม้
- งดดื่มสุรา และสูบบุหรี่
- ไม่ซื้อยามาทานเอง เช่น ยาลูกกลอน ซึ่งมักมีสารเสตียรอยด์ผสมอยู่ ทำให้กระดูกพรุนได้โดยไม่รู้ตัว

โรคกระดูกพรุน ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้อยลง และมักมีอาการเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้น จึงควรป้องกันเอาไว้ก่อนที่จะสายเกินไปนะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยา...เรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย สำหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ร่างกายเสื่อมถอยลองมากอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่า

อาการปวดต่างๆ ที่ควรรีบไปพบแพทย์

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ อาการปวดตามบริเวณต่างๆ มักเป็นอาการที่พบเห็นได้บ่อย เกิ

6 โรคร้าย ภัยเงียบ ที่ต้องเฝ้าระวังก่อนจะเป็น

ในวัยสูงอายุ เรามักพบว่า มีผู้สูงอายุจำนวนมาก ที่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง และมีโรค

ปัญหาการได้ยิน เรื่องใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม

เราอาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ที่ผู้สูงอายุจะมีปัญหาเรื่องการได้ยิน เพราะอายุที่มากข

โรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ

โรคจอตาเสื่อม เป็นโรคที่จะเกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น แล

นอนไม่หลับ บ่งบอกถึงสุขภาพจิต

การนอนไม่หลับ เป็นอาการที่เรามักพบว่าผู้สูงอายุเป็นอยู่เป็นประจำ และเหมือนเป็นอาก