ในวัยสูงอายุ มักเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุต่างๆ แล้ว ย่อมส่งผลต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคหรืออาการต่างๆ ได้ เช่น กระดูกหัก เลือดคั่งในสมอง หรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
สาเหตุของอุบัติเหตุ
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ มีหลากหลายประการ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เป็นปัจจัยหลักในการเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายที่สุด เนื่องจากร่างกายเสื่อมโทรม และทำงานได้ไม่ดี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ มีดังนี้
- การมองเห็นที่ด้อยลง สายตาพร่ามัว สั้นหรือยาวเกินไป หรือเป็นโรคเกี่ยวกับตาต่างๆ
- ระบบการทรงตัวไม่ดี เกิดจากการที่หูชั้นในเริ่มเสื่อม
- กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรงในการช่วยพยุงตัว
- ข้อต่อต่างๆ ไม่ดี
- ระบบประสาทสัมผัสเสื่อม เช่น เป็นเบาหวานมานาน
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น เจ็บหน้าอก หน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่า
2. สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมรอบตัว ก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีดังนี้
- แสงสว่างไม่เพียงพอ
- พื้นบ้านลื่น พื้นผิวขัดมัน หรือพื้นเปียก โดยเฉพาะห้องน้ำ
- บันไดบ้านลื่น หรือไม่มีราวบันได
- พื้นบ้านมีสิ่งของวางระเกะระกะ กีดขวางการเดิน
นอกจากสาเหตุหลัก 2 ประเภทที่กล่าวไปแล้วนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การทานยาความดันเลือด ยานอนหลับ การสวมใส่เสื้อผ้าที่รุ่มร่าม มีเชือกห้อยยาวๆ หรือการที่เครื่องมือช่วยเดินชำรุดเสียหาย ก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน
เมื่อได้ทราบถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุแล้ว คุณก็สามารถที่จะรู้แนวทางในการป้องกัน ไม่ให้ผู้สูงอายุในบ้านเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาได้ เพื่อความปลอดภัยของคนที่คุณรัก
โรคกระดูกพรุน เป็นอีกหนึ่งโรคที่เป็นปัญหาสำหรับผู้สูงอายุ เกิดจากการที่มวลกร
ผู้สูงอายุ แม้จะไม่แข็งแรงเท่ากับช่วงวัยอื่น และมีปัญหาสุขภาพ แต่จะให้อยู่เฉยๆ ไม่
การออกกำลังกาย เป็นการดูแลสุขภาพพื้นฐานของคนเรา ที่ควรทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เป็
ในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอลง และเจ็บป่วยได้ง่ายอย่างช่วงสูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักกังวลว่าจะใช้ชีวิตอ
ผู้สูงอายุ เป็นช่วงวัยที่สั่งสมประสบการณ์ ความรู้ การลองผิดลองถูกในสิ่งต่างๆ มาอย่า
ในวัยที่ถูกลดบทบาทต่างๆ ลง สูญเสียความมั่นคงในหลายๆ ด้าน ร่างกายก็เ