ชวนผู้สูงอายุ เล่นหมากรุกไทย คลายเครียด

ถ้าผู้สูงอายุในบ้านของคุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีอารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่าย หรือมีนิสัยที่เปลี่ยนไป เช่น ขี้บ่นมากขึ้น หรือคิดมาก นั่นเป็นอาการปกติของ “ผู้สูงอายุ” ซึ่งคุณควรเอาใจใส่ดูแล และไม่ปล่อยให้ผู้สูงอายุวิตกกังวล หรืออยู่กับตนเองมากเกินไป การหากิจกรรมให้ผู้สูงอายุทำ คุณควรมีส่วนร่วมด้วย เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกอบอุ่น ได้รับการดูแลเอาใจใส่ และทำให้สนุกสนานไปกับกิจกรรมนั้นๆ

เกมกระดาน เป็นเกมที่สนุกสนาน และทำให้คุณสามารถใช้เวลากับญาติผู้ใหญ่ของคุณได้นานๆ โดยเพลิดเพลินไปกับการเล่นเกม เช่น การเล่นหมากรุกไทย หมากรุกไทย พัฒนามาจากหมากรุกของอินเดีย มีการเล่นกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งการเล่นหมากรุกไทยนั้นต้องใช้สมาธิ ความคิด และการแก้ปัญหาที่ดีเพราะมีตัวเดินหลากหลาย และมีการเล่นที่ค่อนข้างละเอียด

กติกาการเล่นหมากรุกไทย
- ผู้เล่นแต่ละคนผลัดกันเดินหมากของฝ่ายตนเองครั้งละ 1 ตัว
- ถ้าเดินหมากของฝ่ายตัวเองไปในตำแหน่งที่หมากของฝ่ายตรงข้ามตั้งอยู่ หมากของฝ่ายตรงข้ามจะถูกกินและนำออกนอกกระดาน ยกเว้นขุนจะถูกกินไม่ได้
- ถ้าเดินหมากไปในตำแหน่งที่ตาต่อไปสามารถกินขุนของฝ่ายตรงข้ามได้ จะเรียกว่ารุก โดยตาต่อไปฝ่ายตรงข้ามต้องป้องกันหรือเดินหนีไม่ให้ขุนอยู่ในตำแหน่งที่จะถูกกิน
- ถ้าขุนถูกรุกอยู่และไม่สามารถเดินหนีหรือป้องกันการรุกได้ จะถือว่ารุกจนและเป็นฝ่ายแพ้
- ถ้าขุนไม่ถูกรุก แต่ในตาต่อไปไม่สามารถเดินหมากตัวใดๆได้เลย จะเรียกว่าอับ และจะเสมอกัน
หมากรุกไทยมีมาช้านาน และเป็นที่นิยมของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในวัยของผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะรู้จักการเล่นหมากรุกไทย และสามารถเล่นได้

ประโยชน์จากการเล่นหมากรุกไทย
- ช่วยพัฒนาสมอง จากการคิดแก้ปัญหา การไตร่ตรอง
- ช่วยฝึกสมาธิ ทำให้ใจเย็น คิดอย่างเป็นระบบ
- รู้จักแพ้ รู้จักชนะ และรู้จักการปล่อยวาง
- ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่คิดฟุ้งซ่าน และสนใจแต่ตัวเอง
- เป็นการใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว และเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

หากผู้สูงอายุในบ้านของท่านเล่นหมากรุกไทยไม่ได้ หรือรู้สึกว่าซับซ้อนเกินไป คุณก็สามารถเล่นเกมกระดานอื่นๆ ได้ เช่น หมากฮอส เป็นต้น ซึ่งเล่นได้ง่ายกว่า สนุกสนานเช่นกัน


บทความที่เกี่ยวข้อง

การดูแลสุขภาพเบื้องต้น สำหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ร่างกายเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ เกิดจากการที่ระบบต่างๆ ทำงาน

วิธีการพัฒนาสมองของผู้สูงอายุ

ในวัยสูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความจำ และระบบประสาท ซึ่งมีผลต่อการได้ยิน และกา

“หกล้ม” เสี่ยงอันตรายกับ “ภาวะเลือดออกในสมอง”

ในวัยสูงอายุ การเคลื่อนไหวร่างกายทำได้ช้าลง และยากลำบากขึ้น การมองเห็นก็ไม่ชัด

กิจกรรมระหว่างผู้สูงอายุกับลูกหลานเพื่อกระชับความสัมพันธ์

โดยส่วนมากแล้ว ระหว่างผู้สูงอายุกับลูกหลานนั้น มักจะมีช่องว่างระหว่างวัยเกิดขึ้น เ

สิ่งที่ผู้สูงอายุ มักเข้าใจผิด ในการใช้ชีวิต

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ หรือมีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป โดยเ

การใช้ยาหยอดหูกับผู้สูงอายุ

ยาหยอดหู เป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในช่องหู โดยรักษาอา