ปัญหาเรื่องการปัสสาวะ เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากสภาพร่างกายไม่กระฉับกระเฉงและแข็งแรงเหมือนวัยหนุ่มสาว และในบางคนก็ชอบกลั้นปัสสาวะเนื่องจากลุกเดินไม่สะดวก รวมถึงผู้สูงอายุบางคนที่ไม่สามารถปัสสาวะได้เองอีกด้วย
การปัสสาวะ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ลูกหลานควรดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะเป็นกิจวัตรประจำวันที่มีความสำคัญต่อระบบร่างกาย และหากขาดการดูแล หรือทำให้ถูกต้องตามสุขลักษณะอาจนำมาซึ่งโรคภัยอื่นๆ ได้
โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
เมื่อมีการกลั้นปัสสาวะ หรือเกิดความผิดปกติก็อาจเกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่าย ซึ่งหากได้รับการรักษา เพียงทานยาตามแพทย์สั่ง 2-3 วันก็สามารถหายเป็นปกติหรืออาการดีขึ้นได้ แต่หากปล่อยปะละเลยอาจทำให้เกิดภาวะกรวยไตอักเสบได้
โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ หากเกิดการรุนแรงของโรคอาจติดเชื้อในกระแสเลือด และเป็นโรคไตเรื้อรังได้ จึงควรเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุเรื่องการปัสสาวะ รวมไปถึงการขับถ่ายเป็นพิเศษด้วย
การดูแลผู้สูงอายุ
การดูแลผู้สูงอายุในเรื่องการปัสสาวะ ควรทำดังนี้
- ดูแลรักษาความสะอาดทั้งเสื้อผ้า การล้างทำความสะอาดเมื่อปัสสาวะ สุขอนามัยของห้องน้ำ อาหาร และสภาพแวดล้อม
- ให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำสะอาดมากๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว ยกเว้นมีโรคที่ต้องจำกัดน้ำ
- กินยาอย่างครบถ้วน ไม่หยุดยาเองแม้ว่าจะอาการดีขึ้นหรือหายแล้วก็ตาม
- ส่งผู้สูงอายุขับถ่ายหรือปัสสาวะให้เป็นเวลา
- งดดื่มน้ำมากๆ หรือทานอาหารมากๆ ก่อนนอน 1 ชั่วโมง
- ไม่กลั้นปัสสาวะนานๆ หรือบ่อยครั้ง
- เคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ
- ไม่สวมกางเกงในหรือกางเกงที่รัดแน่นจนเกินไป ควรสวมใส่เสื้อผ้าสบายๆ
- รักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคต่อมลูกหมากโต
การดูแลเอาใจใส่เรื่องการปัสสาวะหรือการขับถ่ายของผู้สูงอายุ เป็นเรื่องสำคัญมาก เป็นกิจวัตรพื้นฐานในชีวิตประจำวัน และทำให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ดังนั้น ไม่ควรมองข้ามเรื่องเล็กน้อยเช่นนี้นะคะ เพราะอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนหรือโรคเรื้อรังตามมาได้
ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผิวเริ่มจะแห้งมากขึ้น และเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป ผิวมักจะแห้งกร้านมาก และมี
แม้ว่าอาการอาหารเป็นพิษ จะเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ในวัยสูงอายุ ซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำกว
ผู้สูงอายุ มักมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคไต โรคปอด เป็นต้น ซึ่งโรคเหล
สิ่งที่ดีต่อสุขภาพของคนเรา ไม่ว่าจะเพศใด หรืออายุเท่าใดนั้น คือการทานอาหารให้ครบ 5 หมู
ผู้สูงอายุหลายท่าน มักตรวจพบว่าตนเองมีโรคประจำตัว และมีอาการของโรคเกิดขึ้นอยู่บ่อย
เมื่อโลกของเรากำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” สัดส่วนจำนวนประชากร “ผู้สูงวัย” เพิ่มมากขึ้นพ