ดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ความดันของคนเราปกติจะอยู่ที่120/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งการที่ความดันโลหิตสูงมักเกิดจากสภาวะอารมณ์ หรือกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันอีกปัจจัยหนึ่งมาจากการที่เป็นโรคต่างๆ เช่น ไตวาย เนื้องอกในสมอง ครรภ์เป็นพิษ การได้รับยาหรือสารบางชนิด เป็นต้น
การรักษา

แม้โรคความดันโลหิตสูงจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถควบคุมให้อยู่ในระดับปกติได้ ด้วยการใช้ยา ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง
1. ควรงดอาหารที่มีรสเค็ม หรือปรุงโดยสารที่ให้รสเค็ม เช่น เกลือ น้ำปลา ผงชูรสและผงฟูทำสำหรับขนมปัง เป็นต้น
2. รับประทานผัก ผลไม้ทุกมื้อ เพราะมีแมกนีเซียมและกากใย ช่วยลดความดันโลหิต รวมทั้งรับประทานถั่วและธัญพืชอย่างเพียงพอ
3. งดหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ น้ำมันสัตว์ และเนื้อสัตว์ติดมัน
4. ควรควบคุมน้ำหนัก โดยลดการรับประทานน้ำมันไขมันน้ำตาล และแป้ง การควบคุมน้ำหนัก มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม ช่วยให้ความดันในร่างกายปกติขึ้นได้
5. ออกกำลังกายเป็นประจำ ในบางรายควรปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากอาจต้องควบคุมความดันด้วย ซึ่งอาจต้องออกกำลังกายชนิดเบา ที่ไม่เพิ่มความดันให้สูงขึ้น
6. ความเครียดมีผลต่อความดันโลหิต จึงควรฝึกการผ่อนคลาย โดยการบริหารจิต การมีเมตตา การเจริญสติ สมาธิ
7. งดสูบุหรี่ เนื่องจากสารพิษในบุหรี่ทำให้เกิดการอักเสบของผนังเส้นเลือด หลอดเลือดแข็งตัวเร็วขึ้น
8. งดดื่มสุรา ยาดองของมึนเมาที่มีแอลกอฮอล์ ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจวายได้
9. รับประทานยา ให้สม่ำเสมอและต่อเนื่องตามที่แพทย์กำหนด ไม่ปรับเพิ่มหรือลดยาเอง พร้อมทั้งวัดความดันโลหิตเป็นระยะ

โรคความดันโลหิตไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากเราดูแลตัวเองอย่างดี และใส่ใจการกินอาหาร ก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขเหมือนกับผู้ที่ไม่เป็นความดันโลหิตสูงได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ อาจเกิดจากโรคที่แฝงอยู่

การนอนหลับ เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด และช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น มีกำลังจะทำสิ่งต่างๆ ใ

7 สารอาหารสำคัญ สำหรับคนสูงวัย

สำหรับผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ต้องใส่ใจในเรื่องโภชนาการเป็นสำคัญ นอกจากจะทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกา

โรคยอดนิยม ที่มักจะมาเยือนผู้สูงอายุ

ถ้าคุณเป็นผู้สูงอายุ หรือกำลังจะก้าวเท้าเข้าสู่ช่วงวัยที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะ

โรคข้อรูมาตอยด์ฝันร้ายในวัยสูงอายุ

โรคข้อรูมาตอยด์ แม้จะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็พบได้ในผู้ที่มีญาติสายตรงเ

ดูแลป้องกันตนเองจากโรคข้อเสื่อม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

โรคข้อเสื่อม เป็นโรคอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นได้มากในวัยสูงอายุ โดยเฉพาะบริเวณข้อเข่

ปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักลดในผู้สูงอายุ

ปัญหาน้ำหนักลดในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่พบได้ส่วนมาก ซึ่งเมื่อไปพบแพทย์มักตรวจพบว่ามี