โภชนาการดี ชีวีมีสุข

ถึงวัยที่อายุก้าวเข้าสู่เลขหลายสิบ อะไรๆ ก็ดูจะเสื่อมโทรมไปตามวัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าชีวิตจะควบคุมความหนุ่มสาวเอาไว้ไม่ได้ แต่คุณสามารถควบคุมปัจจัยอื่นๆ ที่จะทำให้คุณยิ้มรับวัยของคุณได้อย่างมีความสุข หนึ่งในปัจจัยสำคัญ คือเรื่องของ “โภชนาการ”

หลักการจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุควรเอาใจใส่เรื่องอาหารการกินให้มาก เพราะร่างกายไม่สามารถขับของเสีย หรือกำจัดสิ่งปนเปื้อน รวมถึงจัดการไขมันส่วนเกินได้ดีเท่ากับตอนเป็นหนุ่มสาว โดยมีหลักการจัดอาหารดังนี้
- มีปริมาณสารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
- เน้นปริมาณน้อยลงในแต่ละมื้อแต่เพิ่มจำนวนมื้อย่อยๆ มากขึ้น
- อาหารควรมีลักษณะนุ่ม เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย และเลือกวิธีการเตรียมการปรุงที่เหมาะสม สะดวกต่อการเคี้ยว และการย่อย
- อาหารประเภทผักต่างๆ ควรปรุงโดยวิธีการต้มหรือนึ่ง หลีกเลี่ยงการกินผักสดที่มีผลทำให้แก๊สและทำให้ท้องอืด แต่ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องท้องอืด ก็สามารถรับประทานผักสดได้
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
- เน้นอาหารประเภทน้ำ ทำให้กลืนอาหารสะดวกขึ้น
- มีผลไม้ทุกวันเพื่อช่วยในการขับถ่ายและให้ได้วิตามินต่างๆ เพิ่มขึ้น โดยเน้นผลไม้ที่เคี้ยวง่าย
- จัดขนมหวานได้บ้าง แต่ควรนานๆ ทีและควบคุมปริมาณให้พอเหมาะ
- ให้เวลาทานอย่างเต็มที่ ผู้สูงอายุจะได้ค่อยๆ เคี้ยว และไม่รีบเร่ง ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้

ปัจจัยเพิ่มเติมในการจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
1. ความต้องการของผู้สูงอายุ
ซึ่งมีความแตกต่างกันไปแต่ละคน และแต่ละวัน ซึ่งควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของอาหารประเภทนั้นด้วยว่าเหมาะสมหรือไม่ หรืออาจจัดให้ในปริมาณเล็กน้อยให้พอหายอยาก
2. โรคของผู้สูงอายุ
โรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือโรคต่างๆ ที่ผู้สูงอายุเป็นอยู่ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการจัดอาหารในแต่ละมื้ออย่างมาก ซึ่งลูกหลานควรใส่ใจเป็นพิเศษ

การควบคุมโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ นับเป็นเรื่องที่ละเอียดซับซ้อน และต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป ที่คุณจะจัดการได้ เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุในบ้านท่าน


บทความที่เกี่ยวข้อง

การดูแลตนเองเมื่ออยู่ในสภาวะสูญเสีย

ไม่ว่าใคร และในช่วงวัยใดก็ตาม ก็ย่อมต้องเผชิญกับความสูญเสียด้วยกันทั้งสิ้น แต่สำหร

อาการข้อไหล่ติด ออกกำลังกายช่วยได้

โรคข้อไหลติด (Adhesive Capsulitis / Frozen Shoulder) เป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มอายุ 40-60 ปี จะมีอาการปวดตื้อๆบริเวณข้อไหล่ มักจะปวดมาก

เช็กด่วน ขี้ลืมแบบไหน เข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์

คนเราเมื่อมีสิ่งต้องคิดต้องทำเยอะๆ มักหลงลืมกันบ้าง เป็นเรื่องปกติ แต่การหลงลืมมีหลายรูปแบบ และพบได้บ

โรคซึมเศร้า ภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพจิต

สังคมที่วุ่นวายและเสื่อมโทรมในปัจจุบัน ส่งผลให้สุขภาพจิตของคนในสังคมย่ำแย่ตามไปด้วย โดยเฉพาะในผู้สูง

หน้ามืด วิงเวียน เป็นลม อาการของผู้สูงอายุ

อาการหน้ามืด วิงเวียน เกิดขึ้นได้เมื่อผู้สูงอายุปรับเปลี่ยน

ทำอย่างไรเมื่อผู้สูงอายุกระดูกหัก

ในวัยสูงอายุ ความสามารถในการมองเห็น การเดิน และการประคองตนเองจะไม่ดีเท่าที่ควร ทำ