วันนี้ ThaiSenior มีคำถามที่อยากชวนทุกท่าน ร่วมคิดและค้นหาคำตอบไปด้วยกัน คำถามมีอยู่ว่า ช่วงอายุใดในชีวิต ที่เรามีความสุขมากที่สุด ? เป็นคำถามที่ฟังดูง่าย ในขณะเดียวกันมีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ที่พยายามหาตอบคำถามนี้อย่างจริงจัง และตำตอบที่ได้ เชื่อว่าทุกท่านคงคาดไม่ถึง
อ้างอิงงานวิจัยจากเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์ ได้รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างกว่า 460,000 คน จากหลากหลายประเทศและวัฒนธรรม เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของ “ความสุข” หรือ “ความเป็นอยู่ที่ดีในเชิงจิตใจ”
โดยพิจารณา 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่
1. ความพึงพอใจในชีวิต
2. อารมณ์เชิงบวก เช่น ความเบิกบาน ความหวัง
3. อารมณ์เชิงลบ เช่น ความเศร้า ความวิตกกังวล
ผลการศึกษาพบแนวโน้มที่น่าสนใจดังนี้
- ความพึงพอใจในชีวิต ลดลงในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น
- จากนั้นจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
- จนกระทั่งถึงจุดหนึ่ง ที่ความพึงพอใจในชีวิต สูงที่สุด
และจุดนั้นก็คือ ช่วงอายุประมาณ 70 ปี
ใช่ครับ ไม่ใช่วัยเด็ก วัยหนุ่มสาว หรือวัยทำงาน แต่งานวิจัยระดับโลกพบว่า คนเราจะมีความสุขทางใจมากที่สุดในช่วงอายุ 70 ปี
แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
คำอธิบายจากนักจิตวิทยาคือ
- เมื่ออายุเพิ่มขึ้น เรามีความเข้าใจชีวิตมากขึ้น
- เราไม่เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นเท่าตอนหนุ่มสาว
- เราเรียนรู้ที่จะพอใจในสิ่งที่มี
และที่สำคัญคือ เราให้คุณค่ากับ “ความสัมพันธ์” และ “ความสงบ” มากกว่า “ความสำเร็จภายนอก”
แม้อารมณ์เชิงบวก เช่น ความตื่นเต้นจะลดลงตามวัย
แต่อารมณ์เชิงลบ เช่น ความเครียดกลับลดลงด้วย
เหลือไว้เพียง “ความพึงพอใจในใจ” ซึ่งกลายเป็นความสุขอย่างแท้จริง
ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย
เพื่อให้ ผู้สูงอายุ รักษาความสุขนั้นไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ควรใส่ใจดูแลสุขภาพจิต ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้
- สื่อสารกับคนในครอบครัวและเพื่อนฝูง
- ทำกิจกรรมที่ตนเองรัก เช่น ปลูกต้นไม้ วาดรูป หรือทำอาหาร
- ออกกำลังกายเบาๆ
- เรียนรู้สิ่งใหม่ เช่น อ่านหนังสือ หรือฝึกใช้เทคโนโลยี
- เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนเพื่อสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง
บางคนเชื่อว่า “ความสุขอยู่ในวัยเยาว์” แต่ผลวิจัยชี้ว่า ความสุขที่ลึกซึ้งที่สุด กลับมาในช่วงชีวิตที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาแล้ว เมื่อเราเข้าใจชีวิตมากพอ จึงจะเห็นความสุขในสิ่งเล็กๆ ไม่ต้องการความตื่นเต้น ไม่ต้องการเสียงปรบมือ แต่ต้องการเพียง “ความสงบ และความหมาย”
หากท่านอายุใกล้ 70 หรือเกินมาแล้ว ขอให้รู้ไว้ว่าท่านไม่ได้อยู่ใน “ปลายทางของชีวิต” แต่กำลังอยู่ใน “ช่วงเวลาที่หัวใจมีความสุขที่สุด”
แม้ตัวเลขจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมาพร้อมกับความเสื่อมของร่างกาย แต่
ด้วยวัยที่ร่างกายเสื่อมถอยลงไป และมีโรคประจำตัว อีกทั้งยังมองเห็นไม่ชัดเจน ฟังก็ไม
“จิตใจ” เป็นสิ่งสำคัญมากๆ สำหรับร่างกาย เพราะหากมีจิตใจที่เข้มแข
ยา นับว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวต่างๆ ซึ่
วัยสูงอายุ แท้จริงเริ่มจากวัยที่อายุ 40 ปีขึ้นไป แต่เรามักเรียกผู้นั้นว่าสูงอายุจริง
เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ หรือมีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป โดยเ