เสนอ ครม. พิจารณา ปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 1,000 บาท ถ้วนหน้า

ตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายวราวุธ ศิลปอาชา ให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 21 ก.พ.2568 กรณีเสนอ ครม. พิจารณาปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็น 1,000 บาทถ้วนหน้า หากมองย้อนไปเดือน ธ.ค.2567 มีการเสนอ ครม. พิจารณาปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเช่นกัน แต่เป็นการปรับเพิ่มเงินตามขั้นบันได ดังนั้น การเสนอแนวทางล่าสุด ปรับเแบบอัตราเดียวถ้วนหน้า 1,000 บาท จะเป็นประโยชน์กับผู้สูงอายุมากกว่า สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้จะเริ่มใช้เมื่อไหร่ ต้องพิจารณาอะไรบ้าง

เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจถึงการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุปัจจุบัน และแนวทางปรับ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ThaiSenior ขอเสนอรายละเอียด ดังนี้

แนวทางเสนอ ครม. เมื่อ ธ.ค. 2567 เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได
อายุ 60-69 ปี เดือนละ 600 ปรับเป็น 700 บาท 
อายุ 70-79 เดือนละ 700 ปรับเป็น 850 บาท 
อายุ 80-89 จากเดือนละ 800 ปรับเป็น 1,000 บาท  
อายุ 90 ปีขึ้นไป จากเดือนละ 1,000 ปรับเป็น เดือนละ 1,250 
และปรับเบี้ยคนพิการจากเดิม 800-1,000 บาท ปรับเป็น 1,000 ถ้วนหน้า  

แนวทางเสนอ ครม. ล่าสุด ก.พ. 2568 ปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 1,000 บาท ถ้วนหน้า และเบี้ยคนพิการ 1,000 ถ้วนหน้า  

การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันไดในปัจจุบัน ใช้เงินเกือบ 100,00 ล้านบาท กรณีปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 1,000 บาท ถ้วนหน้า จะใช้เงินเพิ่มขึ้นประมาณ 180,000 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และกระทรวงการคลัง กรณีไม่ติดขัดปัญหาใดๆ คาดว่าจะเริ่มจ่ายในเดือน ตุลาคม 2568 หรือต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2569

นอกจากนี้ ในที่ประชุม ครม. มีการเสนอแนวทางเพิ่มเติม ปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 3,000 บาท ถ้วนหน้า จะใช้เงินเพิ่มขึ้นประมาณ 540,000 ล้านบาท แนวทางนี้ได้รับการพิจารณาเบื้องต้นแล้ว วงเงินสูงเกินไปเมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิขของประเทศขณะนี้ เนื่องจากเบี้ยยังชีพเป็นการจ่ายเงินให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ต่างกับโครงการอื่น เช่น เงินดิจิทัล วอลเล็ท ใช้วงเงินใกล้เคียงกัน แต่เป็นการจ่ายให้ประชาชนครั้งเดียว


บทความที่เกี่ยวข้อง

VDO 9 หลักปฏิบัติรับมือโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโดลหิตสูง อาจจะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงในความคิดหลายคน เนื่องด้วยเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการบ่งชัด ห

VDO กิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ

การนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการผ่อนคลายความเครียด และให้ความบันเทิงไปพร้อมๆกัน ทำให้ผู้สูงอายุมี

เงิน 10,000 ผู้สูงอายุ กลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน ยังไม่ลงทะเบียน ต้องทำอย่างไร

ตามที่ กระทรวงการคลัง เสนอโครงการ เงินดิจิทัล ผ

วิเคราะห์ เงิน 10,000 ดิจิทัล เฟส 1 , 2 , 3 ใครได้ ใครเสีย ?

วิเคราะห์โครงการ เงิน 10,000 ดิจิทัล วอลเล็ต ครอบคลุมทั้ง เฟส 1 , 2 และ 3 โดย ThaiSenior จะน

VDO รู้ทัน โรคหัวใจขาดเลือด เพื่อป้องกัน

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ พบในผู้ที่มีอายุเฉลี่ย 40 ปีขึ้นไป มารู้จักโรคนี้เพื่อป้องกัน

4 ท่าบริหาร ลดอาการปวดหลัง

เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็ค่อยๆ เสื่อมถอยลง อาการปวดหลัง หรือปวดก้นกบ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ