เมื่อพิจารณาคอมเมนต์จากประชาชน อายุ 16-60 ปี กลุ่มเป้าหมายเงิน 10,000 ดิจิตอล วอลเล็ต เฟส3 ซึ่ง ThaiSenior ได้ติดตามและรวบรวมข้อมูลจากสื่อต่างๆ พบว่า ในแต่ละคอมเมนต์ สะท้อนถึงปัญหาและความวิตกกังวลต่างๆ สรุปได้ 3 ประเด็นหลักๆ นำเสนอในวีดีโอนี้ ทั้งนี้ รัฐบาลควรฟังเสียงประชน และพิจารณาทบทวน ก่อนเริ่มโครงการในไตรมาสที่ 2 หรือไม่ อย่างไร
รายละเอียด 3 ประเด็นหลักๆ ที่มีผู้ชมคอมเมนต์ ผ่านสื่อต่างๆ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้
1. ต้องเป็นเงินสด ส่วนใหญ่ผู้ชมจะสะท้อนแนวคิดเปรียบเทียบกับการจ่ายเงินในเฟส1 และเฟส2 ซึ่งโอนเข้าบัญชี ที่ผูกพร้อมเพย์ ด้วยเลขบัตรประชาชน มีความคล่องตัว ในการนำไปใช้จ่าย และคนในช่วงอายุ 16-60 ปี ส่วนใหญ่ อยู่ในวัยทำงาน การใช้จ่ายอาจมีเรื่องสำคัญ จำเป็น อื่นๆ นอกเหนือจากการซื้อสินค้า จึงควรให้รัฐบาล จ่ายเงินเป็นสด เหมือนที่ผ่านมา เพราะการให้แบบเงินดิจิทัล วอลเล็ต ทำให้การใช้จ่ายถูกจำกัด ซึ่งเป็นประเด็นในข้อต่อไป
2. ใช้จ่ายยาก ประเด็นนี้ผมขอใช้ข้อมูลจากเวบไซต์ digitalwallet.go.th ประกอบการอธิบาย เพื่อให้ผู้ชมได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง รายละเอียด ดังนี้
- การชำระเงินเป็นแบบพบหน้า (Face to Face) และประชาชนต้องมีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตอำเภอเดียวกันกับร้านค้า การชำระเงินจึงจะสมบูรณ์ ประเด็นนี้ ถูกพูดถึงมาก เพราะอย่างที่เรียนให้ทราบ คนในช่วงอายุ 16-60 ปี ส่วนใหญ่ อยู่ในวัยทำงาน บ้างก็ไปทำงานต่างจังหวัด การเดินทางกลับมาเพื่อใช้จ่ายเงิน จึงเป็นเรื่องที่ไม่สะดวก
- ประชาชนใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็ก รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กเท่านั้น ไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ประเด็นนี้ เป็นปัญหาเช่นกัน เพราะในบางพื้นที่ห่างไกล ร้านขนาดเล็กที่เข้าร่วมโครงการมีน้อย เพราะต้องเป็นร้านที่อยู่ในระบบภาษีเท่านั้น
- สินค้าบางอย่างถูกจำกัด ไม่สามารถซื้อได้ (Negative List) ได้แก่ สลากกินแบ่งรัฐบาล , เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ , ผลิตภัณฑ์ยาสูบ , กัญชา , กระท่อม , ผลิตภัณฑ์จากกัญชาและกระท่อม , บัตรกำนัล , บัตรเงินสด , ทองคำ , เพชร , พลอย , อัญมณี , น้ำมัน , เชื้อเพลิง , ก๊าซธรรมชาติ , เครื่องใช้ไฟฟ้า , อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือสื่อสาร ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ อาจมีการปรับปรุงสินค้า Negative List ในภายหลัง
- และการใช้จ่ายไม่รวมถึงธุรกิจบริการ
3. ร้านค้าถอนเงินยาก ประเด็นนี้จะเป็นเสียงสะท้อนจากร้านค้า เพราะร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันที หลังประชาชนใช้จ่าย ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายรอบที่ 2 เป็นต้นไป ซึ่งร้านค้าขนาดเล็ก อาจะมีความจำเป็นต้องใช้เงินหมุนเวียน หรืออื่นๆ ทำให้ประเด็นเป็นปัญหาเช่นกัน
ทั้ง 3 ประเด็นที่กล่าวมา สะท้อนปัญหาจากเสียงประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เงินดิจิทัล วอลเล็ต เฟส3 รวมทั้งร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ อย่างไรก็ตาม มีความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวันที่ 7 ก.พ.2568 จากการประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายหลังประชุม นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ให้สัมภาษณ์ กล่าวถึงแนวคิด ที่อาจจะปรับลดเงื่อนไขบางประการ เพื่ออำนวยความสะดวกกับร้านค้าและประชาชน แต่ในประเด็นที่มีกระแสข่าวออกมาว่า เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ ข้อมูล ณ ขณะนี้ ยืนยันคงจ่ายเป็นเงินดิจิทัล เนื่องจาก ระบบ Open Loop ที่ใช้ชำระค่าสินค้ากับเงินดิจิทัล ปัจจุบันพัฒนาแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างทดสอบเตรียมความพร้อม 1 เดือน
โดยความเห็นของ ThaiSenior ประเด็นปัญหาทั้งหมด ทางกระทรวงการคลังอาจจะทราบแล้ว จากการถามผ่านนักข่าวในการให้สัมภาษณ์ รวมทั้งการออกสื่อต่างๆ ดังนั้น คงต้องมารอดูในช่วง ปลายเดือน ก.พ.2568 ซึ่งจะมีการประชุม คณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน อาจจะมีความชัดเจน ทั้งแนวทางปฏิบัติ กำหนดวันตรวจสอบสิทธิ วันจ่ายเงิน และแนวทางผ่อนปรนต่างๆ ทาง ThaiSenior จะติดตามและทำวีดีโอแจ้งให้ทราบในลำดับต่อไป
วิเคราะห์โครงการ เงิน 10,000 ดิจิทัล วอลเล็ต ครอบคลุมทั้ง เฟส 1 , 2 และ 3 โดย ThaiSenior จะน
ตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายวราวุธ ศิลปอาชา ให้สัมภาษณ์ เมื่อวั
โครงการเงินดิจิทัล เฟส2 หรือ เงิน 10,000 ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ภายหลังปิดลงทะเบี
การนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการผ่อนคลายความเครียด และให้ความบันเทิงไปพร้อมๆกัน ทำให้ผู้สูงอายุมี
โครงการ เงิน 10,000 ดิจิทัล วอลเล็ต เดินทางมาถึง เฟส3 จะจ่ายเงินในไตรมาส 2 ช่วงเด