วิธีการรับประทานอาหารเพื่อหัวใจแข็งแรง : คู่มือสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
สุขภาพของหัวใจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือดและความดันโลหิต ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด รายละเอียด ดังนี้
1. ข้าว แป้ง และธัญพืช
เลือก : ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต และถั่วหลากสี ซึ่งมีใยอาหารสูง ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลและทำให้อิ่มนาน
หลีกเลี่ยง : ข้าวและแป้งที่ผ่านการขัดสี
2. เนื้อสัตว์
เลือก : เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ปลา อกไก่ลอกหนัง และปลาทะเล (2-3 ครั้ง/สัปดาห์) เพื่อรับโอเมก้า 3
หลีกเลี่ยง : เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ ปลาเค็ม และอาหารหมักดองที่มีโซเดียมสูง
3. ผักและผลไม้สด
เลือก : ผักใบและผลไม้สด เช่น แครอท บรอกโคลี และผลไม้สดขนาด 1 จานรองแก้วต่อมื้อ
หลีกเลี่ยง : ผักผลไม้ดอง น้ำผลไม้หรืออาหารที่เติมน้ำตาลและโซเดียม
4. นมและผลิตภัณฑ์จากนม
เลือก : นมจืดสูตรไขมันต่ำ หรือผลิตภัณฑ์นมที่ปราศจากแลคโตส
ตัวเลือกเสริม : นมถั่วเหลืองสูตรไม่หวานและเสริมแคลเซียม
5. ไขมันและถั่วเปลือกแข็ง
เลือก : น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว และถั่วเปลือกแข็งแบบไม่ปรุงรส
หลีกเลี่ยง : น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม กะทิ และอาหารไขมันสูง เช่น เบเกอรี่และของทอด
6. เครื่องปรุงรส
ปรับลด : ปริมาณเครื่องปรุงรสและน้ำจิ้ม ใช้เครื่องเทศธรรมชาติ เช่น มะนาว พริก กระเทียม แทน
เลี่ยง : ซดน้ำซุปน้ำแกงที่มีโซเดียมสูง
7. เครื่องดื่ม
ดื่ม : น้ำเปล่าอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
หลีกเลี่ยง : เครื่องดื่มหวาน น้ำผลไม้เติมน้ำตาล และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เคล็ดลับเสริมพฤติกรรมหัวใจแข็งแรง
- เพิ่มกิจกรรมทางกาย เช่น เดิน วิ่ง หรือเต้นแอโรบิก 150 นาที/สัปดาห์
- พักผ่อนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง/วัน
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์
- ผ่อนคลายความเครียดด้วยสมาธิหรือโยคะ
- งดสูบบุหรี่
- ควบคุมโรคประจำตัว เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง
สรุป : การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีหัวใจที่แข็งแรงและลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจในระยะยาว
ผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น ย่อมมีสุขภาพจิตที่แย่ลง เนื่องจากยั
แม้ว่าผู้สูงอายุบางท่าน จะดูแลตนเองเป็นอย่างดีมาตั้งแต่เริ่มแรก และเตรียมความพร
เตียงนอน เป็นเครื่องใช้ที่มีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เพรา
ผู้สูงอายุ เป็นช่วงวัยที่มีเวลาว่างมากที่สุด ไม่ต้องคิดอะไรมาก ไม่ต้องประกอบอาชีพใด และไม่ต้องรับผิดช
ผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุมากขึ้น ย่อมมีปัญหาทางร่างกายต่างๆ ตามมา รวมถึงระบบขับถ่ายด้วย เพราะทำงานได้ลดลง
ผู้สูงอายุ มักคิดว่าตนเองเป็นบุคคลที่ด้อยค่า เนื่องจากร่างกายเสื่อมถอยลง เหี่ยวย่น ไม