ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้น้อย ทำอย่างไรดี


ปัญหาผู้สูงอายุไม่ค่อยรับประทานอาหาร หรือรับประทานได้น้อย เป็นอีกหนึ่งปัญหาหนึ่งที่ญาติมีความกังวลใจ กลับว่าจะเจ็บป่วย หรือขาดสารอาหารได้

สาเหตุของปัญหา
ปัญหาภาวะความผิดปกติในการรับประทานอาหารเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
- ปัญหาสุขภาพฟัน
- ภาวะกลืนลำบาก
- ความอยากอาหารน้อยลง
- น้ำหนักลด
- ผลข้างเคียงจากยาทำให้เบื่ออาหาร
- ภาวะซึมเศร้าหรือหลงลืมทำให้ไม่ดูแลโภชนาการตนเอง
- โรคเรื้อรังต่างๆ ที่ส่งผลต่อความอยากอาหาร
- โรคบางโรคที่ส่งผลต่อการกินอาหาร

สาเหตุเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารและพลังงานไม่เพียงพอ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา เช่น การติดเชื้อ ภาวะกระดูกพรุน กล้ามเนื้อลีบลง และแขนขาอ่อนแรง

การป้องกันและการดูแลผู้สูงอายุ
การป้องกัน และการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาดังกล่าว สามารถทำได้ดังนี้
1. ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แก้ไขได้
2. ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ
3. จัดมื้ออาหารให้รับประทานร่วมกับผู้อื่น เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง
4. จัดเตรียมอาหารที่คำเล็ก ย่อยง่าย และมีความหลากหลาย
5. ปรึกษาแพทย์เพื่อทบทวนยาที่อาจทำให้เบื่ออาหารได้
6. ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารเสริมทางการแพทย์ประเภทชงหรือพร้อมดื่มเพื่อเพิ่มพลังงาน

หากผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้น้อยมาก หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก หรือร่างกาย ทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาต่อไป
 


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้สูงอายุกับการขับรถ

แม้ผู้สูงอายุจะอยู่ในช่วงวัยที่ต้องการการดูแลจากลูกหลาน แต่ผู้สูงอายุหลายท่านก็ยังชอบที่จะพึ่งพาตนเ

การตรวจร่างกายทั่วไป ยกคุณภาพชีวิตที่ดีในผู้สูงอายุ

นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปี ผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจร่างกายในด้านต่างๆ เฉพาะทาง เพร

การป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน

ผู้สูงอายุ มักมีปัญหาต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิต อันเนื่องมาจากสภาพร่างกาย

ปั่นจักรยาน ต้านโรคหัวใจ ช่วยให้อายุยืนยาว

ในยุคนี้ คงไม่มีการออกกำลังกายใดที่มาแรงแซงกว่าการปั่นจักรยานแน่นอน เพราะนอกจากจะ

ดูดี กระชากวัย ไกลความแก่ ด้วยเคล็ดลับในการดูแลตนเอง

ผู้สูงอายุทั้งหลาย ถ้าท่านไม่อยากแก่เกินวัย และยังดูสดใส ไม่แพ้วัยหนุ่มสาวแล้วล่ะก็ ว

การขาดฮอร์โมน การทดแทนฮอร์โมน และการเตรียมเข้าสู่วัยทอง

ในวัยสูงอายุ ตั้งแต่อายุเริ่มเข้าเลข 4 โดยเฉพาะเมื่ออายุเกิน 45 ปี ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร