โดยส่วนใหญ่อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มักจะพบในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นภาวะผิดปกติที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมการกลั้นปัสสวะได้ตามปกติ
ปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่มักพบได้จาก
• อายุที่มากขึ้น ผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป พบถึง 15-35%
• โรคอ้วน น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดแรงบีบต่อกระเพาะปัสสาวะมากขึ้น
• การคลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาติ/การผ่าตัด เช่น การผ่ามดลูก, การผ่าตัดต่อมลูกหมาก
• โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคพาร์กินสัน ภาวะสมองเสื่อม
เราสามารถสังเกตอาการของผู้สูงอายุได้โดย
- ปัสสาวะบ่อย มากกว่า 8 ครั้งต่อวัน
- ปัสสาวะเล็ด เมื่อไอ จาม หัวเราะหรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหว
- รอไม่ได้ ปวดปัสสาวะเมื่อไหร่ต้องเข้าห้องน้ำทันที
- มีอาการเหมือนปัสสาวะไม่สุดอยู่บ่อยๆ
เทคนิคป้องกันและรักษา
- ฝึกพฤติกรรมขับถ่ายให้เป็นเวลา : ไม่กลั้นปัสสาวะนานๆ
- ลดปัจจัยกระตุ้นปัสสาวะ : เช่น เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม และยาบางชนิด
- ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม : ลดแรงบีบต่อกระเพาะปัสสาวะ
- ทานอาหารที่มีกากใย : ป้องกันอาการท้องผูก ลดความดันในช่องท้อง
- บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน : ฝึกขมิบครั้งละ 1-2 วินาที รอบละ 10 ครั้ง ให้ได้วันละ 3-4 รอบ ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ลดอาการได้
หรือมีวิธีที่ง่ายดายกว่านั้นด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาสำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการปัสสาวะเล็ด เปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายด้วย การเลือกใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ทีมีให้เลือกทั้งแบบเทปและแบบกางเกง โดยกางเกงผ้าอ้อมจะเหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ยังสามารถเคลือนไหวได้ด้วยตนเอง มีลักษณะเป็นกางเกงทำให้สวมใส่ง่าย รุ้สึกสบาย และคล่องตัว และยังสามารถช่วยซึมซับเวลามีปัสสาวะออกมา โดยกางเกงผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่มีหลายแบบและมีระดับการซึมซับที่แตกต่างกัน
ฆพ. 300/2560 อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้ จัดจำหน่ายโดย บมจ. ดีเอสจี อินเจอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ชั้น 11 อาคารรีเจ้นท์เฮาส์ กทม. โทร 02-6518061
เห็นไหม…อาการปัสสาวะเล็ดไม่ใช่เรื่องใหญ่ เป็นแล้วก็สามารถใช้ชีวิตปกติ
ผู้สูงอายุที่มีอาการปัสาวะเล็ดไม่ต้องกังวลไป เพราะเดี๋ยวนี้เขามีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย ประกอบกับลูกหลานที่เอาใจใส่และช่วยกันดูแล ทำให้ผู้สูงอายุในครอบครัวมีคุณภาพชีวิต
ในหน้าร้อน อาหารจะบูดเน่าได้ง่าย และมีแมลงวันชุม อาหารไม่สะอาด จึงเป็
ผู้สูงอายุ ย่อมมีสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยไปตามกาลเวลาและอายุที่เพิ่มมากขึ้
ด้วยวัยที่ร่างกายเสื่อมถอยลงไป และมีโรคประจำตัว อีกทั้งยังมองเห็นไม่ชัดเจน ฟังก็ไม
ความจริงแล้ว อายุที่เพิ่มมากขึ้นไปจนถึง 40 ขึ้นไป คุณก็เข้าสู่ช่วงสูงวัยแล้ว และเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป คุณก็
เมื่อแก่ตัวลงเป็นธรรมดาที่อยากพึ่งตัวเองให้ได้เหมือนเดิม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีที่