อาการข้อไหล่ติด ออกกำลังกายช่วยได้

โรคข้อไหลติด (Adhesive Capsulitis / Frozen Shoulder) เป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มอายุ 40-60 ปี จะมีอาการปวดตื้อๆบริเวณข้อไหล่ มักจะปวดมากขึ้นเมื่อพยายามทำการเคลื่อนไหวข้อไหล่ ตำแหน่งที่ปวดมักจะเป็นด้านบนและด้านหน้าของข้อไหล่รวมทั้งบริเวณต้นแขน โดยมีอาการสำคัญคือ เคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ลำบากไม่สามารถยกแขนขึ้นสูงได้ เช่น ไม่สามารถเอื้อมหยิบของ หวีผมเองได้ เกาหลังไม่ได้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบเรื้อรังของเยื้อหุ้มข้ออาจเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ส่วนมากมักเกิดกับผู้ที่มีข้อไหล่บาดเจ็บหรือเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าปกติ เช่น กระดูกแขนหักต้องใส่เฝือกนานๆ หรือมีเอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่อักเสบและมีอาการปวดจนทำให้ผู้ป่วยหยุดใช้แขนข้างที่บาดเจ็บ มีปัญหาของกระดูกข้อต่อและเส้นประสาทคอก็ทำให้เกิดภาวะข้อไหล่ติดได้

การรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อลดปวดและเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวมีหลายวิธี เช่น การดัดดึงข้อต่อ การใช้ความร้อน/เย็น รักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง และการออกกำลังกาย โดยการออกกำลังกายมีส่วนสำคัญอย่างมากในการบรรเทาและการรักษาอาการของโรคโดยเน้นออกกำลังกายที่เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ

การออกกำลังกาย


1. ใช้มือแตะที่กำแพง ค่อยๆเลื่อนมือขึ้นไปทางด้านบนอย่างช้าๆ จนถึงจุดที่รู้สึกว่าตึง ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด


2. หันด้านข้างเข้าหากำแพง ใช้มือแตะที่กำแพง ค่อยๆเลื่อนมือขึ้นไปทางด้านบนอย่างช้าๆ จนถึงจุดที่รู้สึกว่าตึง ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด


3. เอื้อมมือด้านปกติไปจับข้อมือที่มีอาการ และดึงขึ้นมาเหนือศรีษะ จนถึงจุดที่รู้สึกว่าตึง ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด


4. เอื้อมมือด้านปกติไปจับข้อมือที่มีอาการ (หากเอื้อมไม่ถึงให้ใช้ผ้าขนหนูช่วย) และดึงอ้อมทางด้านหลังจนถึงจุดที่รู้สึกว่าตึง ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด


5. โน้มตัวมาทางด้านหน้า มือข้างปกติจับกับโต๊ะหรือเก้าอี้หมุนข้อไหล่ข้างที่มีอาการให้กว้างที่สุดเท่าที่ทำได้อย่างช้าๆ โดยไม่มีอาการปวด ประมาณ 10 รอบ ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 ชุด


6. เอื้อมมือข้างที่มีอาการทางด้านหน้า มือข้างปกติจับที่ข้อศอกดึงค้างไว้จนรู้สึกตึงประมาณ 15-30 วินาที ทำซ้ำ 5-10  ครั้ง


7. ประสานมือทั้งสองข้าง ยกแขนขึ้นไปทางด้านหลังค้างไว้จนรู้สึกตึงประมาณ 15-30 วินาที ทำซ้ำ 5-10  ครั้ง


8. กางไหล่พร้อมงอศอกข้างที่มีอาการวางบนขอบประตูโน้มตัวมาทางด้านหน้าจนรู้สึกตึงที่ด้านหน้าข้อไหล่ค้างไว้ 15-30 วินาที ทำซ้ำ 5-10  ครั้ง


บทความที่เกี่ยวข้อง

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเกาต์

โรคเกาต์ เป็นโรคอันดับต้นๆ ที่พบได้ในผู้สูงอายุ เกิดจากการใช้และขับถ่ายสารพวกพิวรี

อาหารที่ดี เสริมสร้างสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ

อาหาร เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต แต่ก็อาจเป็นดาบสองคมให้กับเราได้เช่นกัน หากว่า

ระวังภัย !!! การหกล้มในผู้สูงอายุ อันตรายใกล้ตัว

การหกล้ม เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ แม้จะไม่อันตรายถึงชี

รักษาโรคไตวาย ด้วยการออกกำลังกายกันดีกว่า

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่สภาพร่างกายอ่อนแอลง และมักมีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสู

โรคที่พึงระวังในผู้สูงอายุ

เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ร่างกายคนเรามักเริ่มมีการเสื่อมโทรมของอวัยวะต่างๆ อันเป็นสาเหต

โรคกระดูกและข้อ ในผู้สูงอายุ

โรคกระดูกและข้อที่มักพบในผู้สูงอายุ คือ โรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก