ในวัยสูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความจำ และระบบประสาท ซึ่งมีผลต่อการได้ยิน และการทรงตัวด้วย วันนี้เรามีวิธีพัฒนาสมองและความจำในผู้สูงวัยมาฝากค่ะ แต่ก่อนที่เราจะทราบวิธีพัฒนาสมองนั้น เราไปดูกันก่อนดีกว่าว่าการทำงานของสมองและระบบประสาทในผู้สูงวัยเป็นอย่างไร
สมอง และการทำงาน
ในวัย 80 ปี น้ำหนักสมองจะลดลงราว 10% เนื่องจากเซลล์ประสาทลดจำนวนลง ทำให้ขนาดของสมองเหี่ยวลง ช่องว่างระหว่างกลีบสมองถ่างกว้างออก สมองบางส่วนจะฝ่อตัวมากกว่าส่วนอื่น เช่นส่วนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความคิดอ่าน สติปัญญาที่กลีบสมองส่วนหน้า หรือส่วนซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับความจำจะมีการสูญเสียเซลล์ประสาทมากที่สุดกว่าส่วนอื่น ขณะที่ก้านสมองและไขสันหลังไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงทำให้ส่งผลดังนี้
- การรับรสและกลิ่น ต่อมรับรสที่ลิ้นลดจำนวนลง ประกอบกับน้ำลายจะข้นขึ้น ทำให้ช่องปากแห้งได้ง่าย ทำให้ความสามารถในการรับรสด้อยประสิทธิภาพลง ผู้สูงอายุจึงมักรับประทานอาหารรสจัดขึ้น โดยเฉพาะรสเค็มและรสหวาน
- การมองเห็น มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ที่เปลือกตาบนจะตกลงเล็กน้อย น้ำตาในเบ้าตามากขึ้น เนื่องจากการอุดตันของท่อทางเดินน้ำตาและอาการเคืองตาเมื่อผู้ที่มีต้อกระจกอยู่ในที่ที่มีแสงสว่างจ้า ม่านตามีขนาดเล็กลง
- การได้ยิน สูญเสียความสามารถในการได้ยินเสียงความถี่สูงไป แต่ยังสามารถได้ยินเสียงในความถี่ต่ำ
- การทรงตัว พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง โดยเส้นประสาทที่รับผิดชอบอยู่ใกล้เคียงกับส่วนที่รับผิดชอบการได้ยิน
- วิงเวียนศีรษะ โดยเฉพาะเวลาเปลี่ยนท่าทางและทิศทางของศีรษะรวดเร็ว
- สติปัญญา สูญเสียความจำระยะสั้น ต้องใช้เวลาในการนึกทบทวน จำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนานมาแล้วได้ดีกว่า
ระบบประสาทอัตโนมัติ
จะลดประสิทธิภาพลง มีผลต่ออาการผิดปกติที่พบบ่อยในผู้สูงอายุเช่นอาการหน้ามืดเมื่อลุกขึ้นยืนหรือนั่งเร็ว ๆ จากความดันโลหิตที่ลดลง อาการปัสสาวะราด และการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ชีพจรไม่เพิ่มมากเท่าที่ควรเมื่อมีการออกกำลังกาย ทำให้สมรรถภาพในการออกกำลังกายมีขีดจำกัด
การพัฒนาสมองและความจำ
1. หมั่นจดบันทึกประจำวัน หรือบันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ
2. ไม่เก็บตัวอยู่คนเดียว ควรพบปะ พูดคุยกับคนรอบข้างอยู่เสมอ
3. หากมีอาการทางประสาทและสมอง ควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
4. เล่นเกมฝึกความจำ หรือหมั่นคิดทบทวนเรื่องใดเรื่องหนึ่งเสมอๆ
เพียงเท่านี้ ก็สามารถบรรเทาอาการสมองเสื่อม ความจำที่ด้อยลง และยังช่วยให้คุณมีความจำที่ดีเหมือนในวัยหนุ่มสาวได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ควรมีการฝึกใช้งานสมองอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อายุยังน้อย ก็จะดีที่สุด
ภาวะสูญเสีย เป็นภาวะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ไม่ว
เมื่อคุณก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ การดูแลตนเองเป็นเรื่องที่สำคัญ ทั้งเรื่องของอาหารการกิ
ความแตกต่างระหว่างวัย ส่งผลให้เกิดความไม่เข้าใจ หรือเข้าถึงกันได้ยาก ซึ่งปัญหาเหล่าน
ผู้สูงอายุ มักคิดว่าตนเองอยู่ในช่วงชีวิตที่ต้องพบเจอกับความเสื่อมโทรมของร่างกาย ค
ในครอบครัวที่มีลูกหลานมากมายนั้น ในสายตาของผู้สูงอายุ มักมีความรู้สึกว่าตนเองมีความสุข ที่ได้เห็นลูกห