การจัดอาหารที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุโดยตรง
ผู้สูงอายุมีความต้องการอาหาร 5 หมู่ กล่าวคือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ เช่นเดียวกับในคนทุกอายุ แต่เนื่องจากผู้สูงอายุจะเคลื่อนไหวได้น้อยกว่า ออกกำลังกายได้น้อยกว่า มีโรคเรื้อรังต่างๆที่ต้องจำกัดทั้งประเภทและปริมาณอาหารสูงกว่า และร่างกายต้องการอาหารเพื่อการเจริญเติบโตน้อยกว่าวัยอื่นๆ ผู้สูงอายุจึงอ้วนได้ง่ายกว่า ดังนั้นผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องจำกัดอาหารหลักที่ให้พลังงานมากกว่าคนอายุอื่น นั่นคือการจำกัดอาหารคาร์โบไฮเดรตและอาหารไขมัน แต่บริโภคโปรตีนในปริมาณเท่ากับในผู้ใหญ่ทั่วไป และควรต้องเพิ่มปริมาณผักผลไม้ให้มากขึ้นโดยมีหลักดังนี้
1. ผู้สูงอายุมักมีปัญหาด้านการย่อยอาหาร และปัญหาของฟันและเหงือก ส่งผลต่อการเคี้ยวอาหาร น้ำลายลดลง ส่งผลทั้งต่อการเคี้ยวและการย่อย ประสิทธิภาพของน้ำย่อย ปริมาณน้ำย่อย และการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำ ไส้ถดถอย เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย และท้องผูกได้ง่าย ดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรต้องบริโภคอาหารอ่อน ย่อยง่าย อาหารรสไม่จัด หลีกเลี่ยงผลไม้ดิบ หรือผักสดชนิดย่อยยาก และหลีกเลี่ยงอาหารประเภททอดน้ำมัน
2. โปรตีนควรต้องเป็นชนิดย่อยง่ายเช่นกันเช่น จากปลาและไข่ ถ้าจะบริโภคเนื้อแดงควรต้อง ปรุงให้เปื่อยยุ่ย เป็นต้น ในส่วนของไข่ แพทย์ทุกคนเห็นตรงกันว่า กินไข่ขาวได้สูงถึงวันละ 3 ฟอง ถ้ากินโปรตีนชนิดอื่นไม่ได้
3. คาร์โบไฮเดรตควรเป็นแป้งจากธัญพืชเต็มเมล็ดหรือขัดสีน้อย เพื่อเพิ่มวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหาร เลือกที่มีน้ำตาลน้อยที่สุด จำกัดอาหารมีน้ำตาลให้เหลือน้อยที่สุด
4. จำกัดไขมันทุกประเภทให้เหลือน้อยที่สุด เพราะเป็นอาหารที่มีประโยชน์น้อยที่สุดสำหรับผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ให้โทษมากกว่า โดยเฉพาะโรคของหลอดเลือดต่างๆเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
5. เพิ่มผักผลไม้ให้มากๆอย่างน้อยวันละ 5 มื้อ เพื่อได้วิตามิน เกลือแร่และใยอาหาร ช่วยลดการท้องผูก และไม่ทำให้อ้วนเนื่องจากเป็นอาหารกลุ่มไม่มีพลังงานหรือให้พลังงานน้อย ยกเว้นผลไม้ที่มีรสหวานทุกชนิด ควรจำกัดเช่นเดียวกับการจำกัดอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต
6. ดื่มน้ำให้ได้มากๆจะช่วยให้ร่างกายสดชื่น ลดอาการท้องผูก ลดโอกาสเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ลดอาการปากคอแห้ง และช่วยละลายเสมหะ ดื่มอย่างน้อยวันละ 6 - 8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่มเช่น โรคหัวใจล้มเหลว
7. วิตามินเกลือแร่เสริมอาหารทุกชนิด เมื่อจะรับประทานควรปรึกษาแพทย์ก่อนซื้อบริโภคเองเสมอ เพราะตับและไตผู้สูงอายุจะทำงานได้น้อยลง โอกาสเกิดโทษจากผลข้างเคียงของวิตามินเกลือแร่เสริมอาหารจึงสูงขึ้นจากการเพิ่มปริมาณสะสมในร่างกาย
นอกจากเรื่องของอาหารแล้ว ผู้สูงอายุควรงดสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อีกทั้งยังควรจำกัดเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนให้เหลือน้อยที่สุดอีกด้วย
หากผู้สูงอายุที่บ้านของท่าน มีปัญหาเรื่องการฟัง คือฟังไม่ค่อยได
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักมีปัญหาสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตใจควบคู่กันไป เนื่องด้วยปัจ
สภาพสังคมในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ต้องออกไปทำงานกันหมด จึงมักมีความจำเป็นต้อง
การขับถ่าย เป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ เกิดจากการทำงานที่ไ
ในวัยสูงอายุ มักเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุต่างๆ แล้ว ย่อมส่งผลต่อร่างกาย ทำให้เกิดโ