วัยสูงอายุ ช่วงวัยแห่งการเปลี่ยนแปลง


ในบ้านของเรา หรือแม้แต่ตามสถานที่ทั่วไป เรามักพบว่ามีผู้สูงอายุอยู่ด้วยเสมอ แม้ว่าผู้สูงอายุจะเป็นวัยที่อายุมากแล้ว ขยับร่างกายไม่คล่องแคล่วเหมือนในวัยหนุ่มสาว หรือไม่มีเรี่ยวแรงมากพอที่จะทำอะไรได้มาก แต่ก็เป็นช่วงวัยที่ทรงคุณค่า และมีผลต่อการส่งเสริมจริยธรรมอันดีงามในครอบครัว

นิยามของผู้สูงอายุ
วัยสูงอายุ หรือ วัยชรา หมายถึง มนุษย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายของชีวิต นิยามของผู้สูงอายุอาจแตกต่างกันไปเมื่อพิจารณาจากแง่มุมต่างๆ เช่นทางชีวิวิทยา ประชากรศาสตร์ การจ้างงาน และทางสังคมวิทยาในทางสถิติมักถือว่าผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุคือบุคคลที่มีอายุ 60-65 ปีขึ้นไป

สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ว่าผู้ สูงอายุคือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งประเทศสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา และประเทศไทยก็มีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ในช่วงวัยสูงอายุนี่เอง เป็นช่วงวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ซึ่งมักเป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านที่ลดน้อยถอยลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายในวัยสูงอายุ หลักๆ แล้วมีดังนี้

1. การสูญเสียฟัน
2. ผิวหนังเหี่ยวย่นเพิ่มขึ้น
3. สีผมเปลี่ยนเป็นสีเทา หรือสีขาว
4. ความสามารถในการมองเห็นลดลง
5. การรับรู้ทางเสียงลดลง
6. ร่างกายเคลื่อนไหวได้น้อยลง และใช้เวลามากขึ้น
7. การใช้ความจำน้อยลง
8. ความต้องการทางเพศลดลง หรือหมดไป

จากความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ย่อมส่งผลต่อจิตใจที่ย่ำแย่ลงไปด้วย ประกอบกับการที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้เหมือนเมื่อก่อน จึงทำให้ขาดความภาคภูมิในใจตนเอง และน้อยใจได้ง่าย ดังนั้น บุตรหลานจึงมีส่วนสำคัญในการให้กำลังใจ และปฏิบัติต่อผู้สูงอายุเสมือนบุคคลที่ทรงคุณค่าและมีความสำคัญอย่างมากต่อครอบครัว


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงวัยแต่ละคนแตกต่างกัน

เมื่อช่วงวัยที่ยังเป็นหนุ่มสาว หรืออยู่ในช่วงวัยกลางคนตอนปลาย คนในช่วงวัยเดียวกัน

อาการของ “ผู้สูงอายุ” และการดูแลตนเอง

เมื่อมองดูตนเองเมื่อไร ก็รู้สึกว่าเริ่มมีริ้วรอย ตีนกาเพิ่มมากขึ้นไปทุกที กลับมามองอ

ทำอย่างไร เมื่อผู้สูงอายุท้องเสีย

ในหน้าร้อน อาหารจะบูดเน่าได้ง่าย และมีแมลงวันชุม อาหารไม่สะอาด จึงเป็

การป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน

ผู้สูงอายุ มักมีปัญหาต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิต อันเนื่องมาจากสภาพร่างกาย

“หกล้ม” เสี่ยงอันตรายกับ “ภาวะเลือดออกในสมอง”

ในวัยสูงอายุ การเคลื่อนไหวร่างกายทำได้ช้าลง และยากลำบากขึ้น การมองเห็นก็ไม่ชัด

การดูแลผิวหนังสำหรับผู้สูงอายุ

เมื่อเป็นผู้สูงอายุ อะไรก็ดูจะเสื่อมถอยลงไปเสียหมด ทั้งรูปร่างหน้าตา สุขภาพ และการ