อาการสูญเสียความทรงจำ อาการร้ายๆ ที่ญาติไม่ควรนิ่งนอนใจ



แม้ว่าผู้สูงอายุในครอบครัวของคุณจะผ่านช่วงวัยหนุ่มสาวมาอย่างไร หรือแข็งแรงมากแค่ไหนก็ตาม เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ ก็มักเกิดโรคประจำตัว และอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้เสมอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป และระบบต่างๆ ในร่างกายที่ทำงานได้ด้อยประสิทธิภาพลง

อาการสับสนและสูญเสียความทรงจำ เป็นอาการอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นได้มากในผู้สูงอายุ แม้จะดูเหมือนไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่ก็อาจส่งผลเสียมากมายตามมาได้

อาการหลงลืมหรือคิดช้าลงเป็นอาการที่พบได้เมื่ออายุมากขึ้น หากมีปัญหาสุขภาพที่เฉียบพลัน เช่น การอักเสบติดเชื้อ หัวใจหรือสมองขาดเลือด ซึ่งอาจเกิดอาการเพ้อ งุนงง สับสนได้ง่ายขึ้น ดังนั้น เมื่อมีอาการเจ็บป่วยใดๆ ไม่ควรปล่อยไว้ แต่ควรรีบแก้ไขที่สาเหตุของการเจ็บป่วยให้เร็วที่สุด อาการเหล่านี้ก็จะดีขึ้นได้

อาการสับสน และหลงลืม หรือคิดอะไรได้ช้านั้น ส่งผลเสียในระยะยาว และอาจนำไปสู่โรคสมองเสื่อมได้ ดังนั้น คนในครอบครัวจึงควรหมั่นสังเกตอาการให้ดี หากพบว่าผู้สูงอายุเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ พฤติกรรม และความทรงจำอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน นั่นอาจเป็นสัญญาณถึงอาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อมได้

สัญญาณเตือน
สัญญาณเตือนว่าผู้สูงอายุอาจมีสมองเสื่อม มีดังนี้
- เรียนรู้หรือจดจำสิ่งใหม่ๆ ลำบาก
- พูดซ้ำถามซ้ำ
- เริ่มบกพร่องในการทำสิ่งที่ซับซ้อน
- หลงทิศทางหรือลืมทิศทางในที่ที่ควรคุ้นเคย
- ไม่อยากเข้าสังคมหรือพูดน้อยลง
- อารมณ์หรือนิสัยเปลี่ยนแปลงไป

แนวทางในการดูแล
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินอาการและรับการรักษา แม้ว่าภาวะความจำเสื่อมจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็มีวิธีที่จะช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคได้อย่างการทำกิจกรรมต่างๆ ที่กระตุ้นสมอง เช่น ทำงานหรือทำงานบ้านเท่าที่ทำได้ เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมกับครอบครัวและเพื่อนๆ อ่านหนังสือ เล่นเกม ออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นต้น

ลูกหลาน หรือคนในครอบครัวมีส่วนต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ดังนั้น ควรเฝ้าสังเกตอาการ ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ และดูแลผู้สูงอายุในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสมด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ป้องกันได้อย่างไร

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุเพศชาย และสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายในการปัสสา

4 ข้อในการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ

การดำเนินชีวิตในแต่ละช่วงวัยของคนเรานั้น ย่อมมีหลักในการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สามาร

วัคซีนในผู้สูงอายุ ป้องกันโรคร้ายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง

วัคซีนในผู้สูงอายุ ป้องกันโรคร้ายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ระบ

กินผักผลไม้หลากสี ห่างไกลมะเร็งลำไส้ใหญ่

กินผักผลไม้หลากสี ห่างไกลมะเร็งลำไส้ใหญ่ สำหรับผู้สูงอายุที่ใส่ใจสุขภาพ ลำไส้ของ

พฤติกรรมแบบใด เสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบ

ในวัยสูงอายุ ภูมิคุ้มกันจะลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด จึงอาจเกิดโรคต่างๆ ขึ้นได้ แม้ว่

9 ข้อควรปฏิบัติ ดูแลตนเอง เมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ในวัยสูงอายุ มีโรคต่างๆ มากมาย ที่มักจะเกิดขึ้นมา เนื่องจากการดำเนินชีวิตที่สะสมมาต