การแก้ปัญหาเรื่องการได้ยินให้กับผู้สูงอายุ



ปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 3 ของโรคเรื้อรังต่างๆ ที่เกิดกับผู้สูงอายุ และเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อจิตใจ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยตรง

โดยธรรมชาติแล้วการได้ยินจะค่อยๆ เสื่อมลงตามวัย การได้ยินบกพร่องของผู้สูงอายุ จะมีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป และเสื่อมเท่ากันทั้ง 2 ข้างในช่วงความถี่สูง ซึ่งจะวินิจฉัยในผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปี และไม่มีสาเหตุอื่นที่ทำให้การได้ยินบกพร่อง ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ เนื่องจากมีเสียงรบกวนในหู และมักมีปัญหาฟังไม่รู้เรื่อง หรือได้ยินเสียงแต่จับใจความไม่ได้ร่วมด้วย ซึ่งเป็นผลจากความเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลางตามวัย นอกเหนือไปจากหูชั้นในเสื่อม ทำให้มีปัญหาในการได้ยินมากกว่าผู้ที่มีการได้ยินบกพร่องในระดับเดียวกันที่มีอายุน้อยกว่า

การรักษาปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุนั้น จะรักษาตามสาเหตุของโรค โดยมีหลักดังนี้

1. ถ้ามีปัญหาการได้ยินไม่มาก ยังพอได้ยินเสียง ไม่รบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมากนัก ยังสามารถที่จะพอสื่อสารกับผู้อื่นได้ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ต้องมีการตรวจหาสาเหตุและรักษาตามอาการ

2. ถ้ามีปัญหาการได้ยินมาก ไม่ค่อยได้ยินเสียง โดยเฉพาะถ้าเป็น 2 ข้าง และรบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมาก คือไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ และเกิดจากสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว ควรฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟัง ร่วมกับการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การแยกแยะเสียงได้ชัดเจนขึ้น เช่น ลดเสียงรบกวน และให้คู่สนทนาอยู่ตรงหน้า ไม่พูดเร็ว หรือพูดประโยคยาวเกินไป เพื่อผู้สูงอายุจะได้จับใจความได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตของตัวผู้ป่วยเอง และของครอบครัวผู้ป่วยดีขึ้น

นอกจากนี้แล้ว ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหู หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ส่วนบนลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม งดการสูบบุหรี่ สารคาเฟอีน และนิโคติน ทำให้เลือดไปเลี้ยงประสาทหูน้อยลง ทำให้ประสาทรับเสียงเสื่อมมาก หรือเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น ที่สำคัญพยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียด วิตกกังวล และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

แม้ว่าปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุ จะไม่มีความร้ายแรงใดๆ แต่ก็ส่งผลต่อจิตใจอย่างมาก ลูกหลานจึงควรปฏิบัติต่อผู้สูงอายุด้วยความเข้าใจ ด้วยการพูดคุยใกล้ๆ พูดช้าๆ ใช้เสียงทุ้มที่ดังกว่าธรรมดา และมีการสบตา เลือกยืนหรือนั่งพูดคุยในตำแหน่งที่ผู้สูงอายุสามารถเห็นปากผู้สนทนาได้อย่างชัดเจน และเลือกสนทนาในสถานที่ที่ไม่มีเสียงรบกวน


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคกระดูกสันหลังเสื่อม ภัยคุกคามคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ

โรคกระดูกสันหลังเสื่อม ทำให้หลังคดโก่ง กระดูกเลื่อน ปวดหลัง ปวดคอ ซึ

เนื้องอก มะเร็งสมอง เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุ

เมื่อดูละคร เรามักพบเห็นว่า พ่อของพระเอก นางเอก มักเป็นโรคเนื้องอก มะเร็งในสมอง จนท

9 โรคในผู้สูงวัย ต้องใส่ใจก่อนจะเป็น

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น มักมีโรคภัยต่างๆ ถามหาอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะทำ

ทำอย่างไรเมื่อผู้สูงอายุกระดูกหัก

ในวัยสูงอายุ ความสามารถในการมองเห็น การเดิน และการประคองตนเองจะไม่ดีเท่าที่ควร ทำ

ผู้สูงอายุ โรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใส เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ผู้สูงอายุ โรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใส เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ความหวาน ตัวการสร้างโรคในผู้สูงอายุ

โรคภัย ใครๆ ก็กล่าวว่าเป็นของคู่กันกับผู้สูงอายุ เพราะร่างกายที่อ่อนแอลง เสื่อมสภาพ