จะป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้อย่างไร



จะป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้อย่างไร เป็นคำถามที่น่าสนใจสำหรับผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เนื่องจากในวัยสูงอายุสามารถเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ง่าย และเมื่อเป็นแล้ว ก็สร้างความทุกข์ทรมานในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก

สำหรับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุเพศหญิง ทั้งที่แทบไม่พบเลยในผู้สูงอายุเพศชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นมากนั่นเอง

อาการของโรค อาจมีอาการปัสสาวะแสบขัด ขุ่น ปัสสาวะบ่อยขึ้น แต่ถ้าติดเชื้อที่กรวยไต จะมีไข้ ปวดหลังร่วมด้วย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสูงอายุจำนวนมาก อาจมีอาการที่ไม่จำเพาะกับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่น ซึม สับสน เบื่ออาหาร กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หกล้ม เป็นต้น

สาเหตุที่ผู้สูงอายุมีโอกาสติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีดังนี้

1. เมื่อผู้หญิงหมดประจำเดือนแล้ว จะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค ในผู้ชายสูงอายุ สารคัดหลั่งจากต่อมลูกหมากจะมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียน้อยลง

2. เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของไตลดลง ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น นอกจากนั้นการที่มีน้ำตาลในปัสสาวะ ซึ่งพบได้มากขึ้นในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีโรคเบาหวานมากขึ้น ยังเป็นสารเพาะเชื้อที่ดีอีกด้วย

3. ผู้สูงอายุได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะ จึงทำให้เชื้อโรคเข้าไปในทางเดินปัสสาวะได้

4. ผู้สูงอายุมีโรคที่เกิดขึ้นหลายอย่าง ซึ่งอาจยังผลให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะง่ายขึ้น เช่น โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคเบาหวาน ขาดสารอาหาร โรคต่อมลูกหมากโต เป็นต้น โรคเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้มีโอกาสติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะง่ายขึ้น

การป้องกันโรคสามารถทำได้โดย

- แก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ เช่น ถ้ามีนิ่วในทางเดินปัสสาวะก็ต้องรักษา เพราะก้อนนิ่วอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อและอาจทำให้เกิดการอุดตันการไหลของปัสสาวะ

- หลีกเลี่ยงหรือหยุดยาที่ไม่จำเป็น เนื่องจากยาบางชนิดทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวขับปัสสาวะไม่ดี หรือยาบางตัวทำให้แรงต้านทานในท่อปัสสาวะสูงขึ้น ทำให้มีปัสสาวะคั่งค้าง เกิดการติดเชื้อได้ง่าย

- การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนสามารถป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ ในผู้หญิงสูงอายุที่มีสาเหตุจากการขาดฮอร์โมนได้

- ดูแลความสะอาดรอบๆ บริเวณท่อปัสสาวะ และไม่กลั้นปัสสาวะ

นอกจากนี้ควรจัดให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าห้องน้ำได้ง่าย และทันเวลา เพื่อจะได้ไม่ต้องกลั้นปัสสาวะ และป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความหวาน ตัวการสร้างโรคในผู้สูงอายุ

โรคภัย ใครๆ ก็กล่าวว่าเป็นของคู่กันกับผู้สูงอายุ เพราะร่างกายที่อ่อนแอลง เสื่อมสภาพ

9 โรคในผู้สูงวัย ต้องใส่ใจก่อนจะเป็น

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น มักมีโรคภัยต่างๆ ถามหาอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะทำ

ภาวะเสียการสื่อความ เสี่ยงอัมพาต?

เมื่ออยู่ในวัยสูงอายุ โดยเฉพาะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เรามักพบว่าผู้สูงอ

พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เสี่ยงโรคร้าย

การนอนหลับ เป็นกระบวนการที่ร่างกายทำหน้าที่ตามธรรมชาติเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต คนเราจึง

โรคซึมเศร้า ภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพจิต

สังคมที่วุ่นวายและเสื่อมโทรมในปัจจุบัน ส่งผลให้สุขภาพจิตของคนในสังคมย่ำแย่ตามไปด้วย โดยเฉพาะในผู้สูง

โรคประจำตัวต่างๆ กับการออกกำลังกาย

เป็นที่ทราบกันดีว่า แม้จะอยู่ในช่วงวัยสูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว ก็ควรออกกำลังกายอย