เราควรจะเลิกขับรถแล้วหรือยัง?



เมื่อแก่ตัวลงเป็นธรรมดาที่อยากพึ่งตัวเองให้ได้เหมือนเดิม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีที่มีกิจกรรมทำยามว่าง เพราะจะได้รู้สึกไม่แก่ แถมไม่ซึมเศร้าอีกด้วย ไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระของลูกๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหารเอง ทำสวนเอง หรือทำความสะอาดเล็กๆ น้อยๆ และบางคนยังชอบขับรถไปไหนมาไหนเอง

ความจริงแล้วผู้สูงอายุขับรถถือเป็นเรื่องไม่ปลอดภัยเพราะผู้สูงอายุจะมีปฏิกิริยาตอบสนองบนท้องถนนช้าลง ความสามารถในการมองเห็นและได้ยินน้อยลง กล้ามเนื้ออ่อนล้าและยื่นหยุ่นน้อยลง มีอาการมึนฤทธิ์ยา และบางท่านมีสมาธิสั้นลง อาการผู้สูงอายุเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดอุบติเหตุบนท้องถนนภายในเสี้ยววินาทีได้ ทางที่ดีเราต้องปลอดภัยไว้ก่อน ตอนนี้เรามาดูกันว่า เราแก่เกินไปที่จะขับรถแล้วหรือยัง

10 สัญญานว่าคุณแก่เกินจะขับรถแล้ว

1. ขับรถในความเร็วไม่เหมาะสม ช้าไปหรือเร็วไป?
2. ตอบสนองช้า ต่อสิ่งต่างๆ บนท้องถนน รอบตัว เช่น รถคันอื่น จักรยานยนต์ คน
3. ไม่ทำตามไฟจราจรหรือป้ายต่างๆ
4. กะระยะระหว่างรถผิดบ่อยๆ
5. โมโหง่าย
6. ขับรถค่อมเลนหรือขับรถชนกรวยจราจร
7. ลืมเปิดไฟตอนกลางคืน
8. มองไฟถนนตอนกลางคืนไม่ค่อยเห็น
9. หันซ้ายหันขวาลำบากเมื่อขับรถ
10. หลงทางบ่อย ทั้งๆ ที่เป็นที่ๆคุ้มเคย

ถ้าเริ่มมีสัญญานพวกนี้แสดงว่าคุณขับรถเองเริ่มจะไม่ปลอดภัยแล้วนะ (ลองเช็กให้ดี ถ้ามีสักข้อสองข้ออาจจะเป็นเรื่องปกติ) แต่ถ้าสี่ข้อขึ้นไป เราต้องเริ่มเตรียมตัวให้คุณเลิกขับรถแล้วแน่นอน คนเรายิ่งแก่ยิ่งดื้อ ถ้าอยู่ๆ เราไปบังคับให้เลิกขับรถคงจะเป็นเรื่องยาก เราเลยมีวิธีลด ละ เลิก ขับรถสำหรับผู้สูงอายุมาฝากกัน

- ไม่ขับรถตอนกลางคืนหรือตอนฟ้ามืด เพราะคุณอาจจะมองไฟไม่ค่อยเห็น
- ขับแค่ที่ๆ คุ้นเคย เพื่อความปลอดภัย
- ไม่ขับรถไปที่ๆ ไกลจากบ้าน เพราะเดี๋ยวจะหลง
- ไม่ขับรถบนทางด่วนหรือชั่วโมงเร่งด่วน เพราะเป็นช่วงที่เกิดอุบัติเหตุง่าย
- ไม่ขับรถคนเดียว

นอกจากจะค่อยๆ ลดการขับรถแล้ว เราต้องพยายามเลิกขับด้วย เปลี่ยนมานั่งแท็กซี่หรือขนสงมวลชนแทน ถึงแม้เราอยากจะดูแลตัวเอง เราก็ต้องมั่นใจว่าปลอดภัยเช่นกัน

สนับสนุนบทความโดย  www.frank.co.th/blog


บทความที่เกี่ยวข้อง

ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพลิดเพลิน จำเริญใจ

การท่องเที่ยว เป็นการพักผ่อนที่ดีอย่างหนึ่ง ด้วยการดำเนินชีวิตที่ต้องเคร่งเครียดอยู่เสมอ รวมถึงไม่มีเ

ผู้สูงอายุกับการใช้ยา

ยา เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากมักมีโรคประจำตัว หรือเจ็บป่ว

เล่นหมากรุก ฝึกสมอง คลายเครียด ดีต่อหัวใจ

ในช่วงวัยที่ก้าวเข้ามาเป็นผู้สูงอายุ สภาพร่างกายก็ย่อมที่จะเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา

ปั่นจักรยาน ต้านโรคหัวใจ ช่วยให้อายุยืนยาว

ในยุคนี้ คงไม่มีการออกกำลังกายใดที่มาแรงแซงกว่าการปั่นจักรยานแน่นอน เพราะนอกจากจะ

รู้หรือไม่ ความสุข เริ่มหลังเกษียณ

วันนี้ ThaiSenior มีคำถามที่อยากชวนทุกท่าน ร่วมคิดและค้นหาคำตอบไปด้วยกัน คำถามมีอยู่ว่า ช่วงอายุใดในชีวิต ที่

สิ่งที่ผู้สูงอายุ มักเข้าใจผิด ในการใช้ชีวิต

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ หรือมีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป โดยเ