อาการที่บ่งบอกว่าขาดสารอาหาร และวิธีการแก้ไข


ในวัยสูงอายุนั้น การกินอาหารมักด้อยประสิทธิภาพลง เนื่องจากปัจจัยในหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่องของระบบร่างกาย ความเจ็บป่วย รวมถึงสภาพจิตใจในขณะนั้นด้วย

การขาดสารอาหาร ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายโดยตรงอย่างแน่นอน ถ้าคุณกำลังกังวลว่าผู้สูงอายุของคุณกำลังขาดสารอาหารหรือไม่ อาจสังเกตได้จากอาการเหล่านี้

- โดยปกติผู้สูงอายุมักจะแลดูผอมลง แก้มตอบ

- กล้ามเนื้อขมับทั้งสองข้างเล็กลง ตาลึกลง กล้ามเนื้อแขนขาก็อาจจะเล็กลงเมื่อมีอายุมากขึ้น

- น้ำหนักลดลงเรื่อยๆโดยธรรมชาติเมื่อเข้าสู่วัยชรา  ผู้สูงอายุอาจมีน้ำหนักลดได้บ้าง แต่ไม่ควรเกินร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวเดิมในเวลา 6 เดือน ซึ่งเกิดจากการลดลงของเนื้อเยื่อพวกกล้ามเนื้อ  กระดูก  ปริมาณน้ำในร่างกาย และอื่นๆ แต่ถ้าน้ำหนักลดมากเกิน ร้อยละ 5 จากน้ำหนักเดิม เช่น น้ำหนักเดิม 60 กิโลกรัม แต่ลดลงเหลือ 56 กิโลกรัม ภายในเวลา 6 เดือน มักจะมีสาเหตุที่เป็นความผิดปกติ ที่ควรปรึกษาแพทย์ครับ

การขาดสารอาหารนั้น สาเหตุหลักมาจากการกินอาหารที่ไม่เป็นไปตามโภชนาการอาหารที่ผู้สูงอายุควรจะได้รับ เมื่อเป็นปัญหาสะสมมาเรื่อยๆ ก็จะขาดสารอาหารในที่สุด ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารในผู้สูงอายุนี้ สามารถทำได้ดังนี้

1. แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆ
จากที่กินอาหารวันละ 3 มื้อ อาจเปลี่ยนมากินให้บ่อยขึ้น แต่เป็นมื้อเล็กๆ แทน ก็จะช่วยให้กินอาหารได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

2. ทราบว่าควรได้รับสารอาหารใดบ้าง
ในแต่ละวัย ร่างกายของคนเราควรรับสารอาหารต่างๆ ในปริมาณที่เหมาะสม และมีการเสริมสารอาหารที่จำเป็น ดังนั้น ผู้ที่ปรุงอาหารให้กับผู้สูงอายุ ควรศึกษาหาข้อมูลว่าใน 1 วัน ผู้สูงอายุควรได้รับสารอาหารใดบ้าง และในปริมาณเท่าใด สารอาหารใดที่ควรได้รับแต่น้อย เป็นต้น

3. ปรุงอาหารที่เหมาะกับสภาพร่างกาย และโรคประจำตัว
สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ควรปรุงอาหารที่สอดคล้องกับโรค เช่น เป็นโรคไต ก็ไม่ควรกินเค็ม เป็นต้น ส่วนอาหารทั่วไป ควรปรุงให้มีความเปื่อย อ่อนนุ่ม เพื่อให้เคี้ยวง่าย ไม่เจ็บเหงือก และช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ง่ายขึ้น

เพียงเท่านี้ก็สามารถจัดการกับโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุได้แล้วนะคะ เมื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปเรื่อยๆ ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารได้ แต่หากผู้สูงอายุดูปกติดี แต่ขาดสารอาหาร ควรพาไปพบแพทย์จะดีที่สุด


บทความที่เกี่ยวข้อง

อยู่ดี กินดีอย่างไร ห่างไกลไขมันในเลือดสูง

โรคไขมันในเลือดสูง เป็นโรคที่มีความอันตราย อาจนำไปสู่โรคหัวใจ อาการหัวใจขาดเลือด ห

อาการสับสนและสูญเสียความทรงจำในผู้สูงอายุ

ในวัยสูงอายุ เรามักพบว่าเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เนื่องจากสิ่งที่เราสะสมเอาไว้ในร่างกา

อาการที่บ่งบอกว่าขาดสารอาหาร และวิธีการแก้ไข

ในวัยสูงอายุนั้น การกินอาหารมักด้อยประสิทธิภาพลง เนื่องจากปัจจัยในหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่

เรียนรู้และป้องกันโรคกรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ

โรคกรดไหลย้อน จะพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป มากกว่าวัยหนุ่มสาว โดยมักจะเกิดอาการหลังรั

อาหาร 5 หมู่สำหรับผู้สูงวัย

ในวัยสูงอายุ เรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้สูงอายุควรดูแลตนเองให้มีสุขภาพทั้

อัลไซเมอร์ โรคอันตรายใกล้ตัวผู้สูงอายุ

เรามักพบว่าผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุมากๆ มักมีอาการหลงๆ ลืมๆ และหากเป็นหนัก ก็จะมีพฤติ