การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ด้านหัวใจและหลอดเลือด


การเปลี่ยนแปลงในช่วงสูงวัย เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ด้อยลง ทั้งการเปลี่ยนแปลงภายนอกที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ผิวหนังที่เหี่ยวย่น ไม่สดใส มีผมหงอก เป็นต้น รวมไปถึงระบบต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และยังคงมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมลงเรื่อยๆ

หัวใจ และหลอดเลือด เป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกายมนุษย์ และสัตว์ ดังนั้น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ด้อยประสิทธิภาพ ย่อมทำให้ระบบอื่นๆ หรือสภาพร่างกายย่ำแย่ลงไปด้วย

การเปลี่ยนแปลงของหัวใจ และหลอดเลือดในผู้สูงอายุ มีดังนี้

1. หัวใจ
เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจลดจำนวนลง มีเนื้อเยื่อพังผืดเพิ่มมากขึ้น ในคนที่มีความดันโลหิตสูงเรื้อรัง ก็จะทำให้มีกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้น เซลล์ที่เป็นตัวกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจลดจำนวนลง ทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติไปในผู้สูงอายุบางราย

2. ลิ้นหัวใจ
โดยเฉพาะลิ้นที่ต้องทำงานหนัก จะเกิดความเสื่อม มีไขมันสะสมและหินปูนมาเกาะในที่สุด ทำให้การปิด-เปิดของลิ้นหัวใจไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยเฉพาะลิ้นเออร์ติค

3. หลอดเลือดแดง
เซลล์กล้ามเนื้อเรียบที่ผนังหลอดเลือดแดงเพิ่มจำนวนขึ้น เกิดมีหย่อมของหินปูนมาเกาะตามผนัง ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งจนอาจคลำได้เป็นลำ และอุดตันได้ง่ายเกิดอาการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงยังอวัยวะปลายทางได้

การดูแลตนเองเพื่อบำรุงหัวใจและหลอดเลือด
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่เกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถป้องกัน และบรรเทาได้ดังนี้
- การหมั่นกินอาหารที่มีประโยชน์ งดไขมันให้มากที่สุด
- งดเว้นความเสื่อมโทรมเข้าร่างกาย
- หมั่นออกกำลังการสม่ำเสมอ

เพียงเท่านี้ก็สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และบำรุงให้หัวใจแข็งแรง และไม่มีความผิดปกติที่หลอดเลือดได้มากแล้วนะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

เลือดออกในโพรงสมองอันตรายถึงชีวิต

แค่ได้ฟังว่า เกิดภาวะเลือดออกในโพรงสมอง ก็รู้สึกว่าอันตรายแล้ว ซึ่ง

การดูแลสุขภาพผิวสำหรับผู้สูงอายุ

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะทำงานได้ลดลง ประสิทธิภาพด้อยลง และส่งผ

เรื่องน่ารู้ในการตรวจสุขภาพประจำปี

อย่างที่ทราบกันว่า เราควรตรวจสุขภาพประจำปีกันทุกคน โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น ยิ่งต้องตรวจอย่างละเอียดแ

อาหารเป็นพิษในผู้สูงอายุ อาจเสี่ยงอันตรายได้

อาหารเป็นพิษ เกิดขึ้นได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย เกิดจากการกินอาหาร หรือเ

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบในผู้สูงอายุที่ป้องกันได้

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบในผู้สูงอายุที่ป้องกันได้ โรคกระดูกพรุน

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อปวดหลังช่วงล่าง

ผู้สูงอายุ มักปวดหลังเป็นประจำ ทำให้จะลุกจะนั่งก็ลำบากจากอาการเจ็บปวดทรมาน ซึ