ระบบภูมิคุ้มกันที่บกพร่องของผู้สูงอายุ



ระบบในร่างกายของคนเรานั้นมีด้วยกันมากมายหลายระบบ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงสูงอายุ ระบบต่างๆ ในร่างกายนี้จะทำงานได้ด้อยประสิทธิภาพลง และส่งผลต่อสุขภาพร่างกายโดยตรง ระบบหนึ่งที่สำคัญและมีผลต่อการเกิดโรคได้อย่างมาก คือ ระบบภูมิคุ้มกัน นั่นเอง

ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นระบบของร่างกายที่ประกอบด้วยระบบย่อยๆ และมีอีกหลายระบบที่ทำงานประสานกันในการต่อสู้กับเชื้อโรคที่มีอยู่แล้วในร่างกาย หรือเพิ่งจะเข้ามาใหม่

ข้อควรรู้เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในวัยสูงอายุ

ข้อควรรู้ที่น่าสนใจ และควรศึกษาเอาไว้เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในวัยสูงอายุ มีดังนี้

- เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะทำงานลดลง โดยเฉพาะเมื่ออายุ 30 ปีเป็นต้นไป ผู้สูงอายุจึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย

- ระบบภูมิคุ้มกันจะมีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมชัดเจนจากความชรา คือ ระบบภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์ การที่ผู้สูงอายุมีความบกพร่องในระบบนี้เอง ทำให้อุบัติการณ์ของวัณโรคและงูสวัดเพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุ

- อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอาจมีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์ที่ด้อย ประสิทธิภาพลง 

- การที่ร่างกายของผู้สูงอายุมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอม ระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดแปลกไป ทำให้อาการและอาการแสดงหลังการเจ็บป่วยต่างไปจากผู้ป่วยทั่วไปด้วย เช่น ภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายไม่สูงขึ้นหรือกลับต่ำลงในการติดเชื้อในกระแสโลหิต เป็นต้น

- ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้งระบบ ทำงานลดลง ผู้สูงอายุจึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย

ระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัดในวัยสูงอายุ ทำให้เราต้องตระหนักถึงการเอาใจใส่ดูแลตนเองเสียแต่เนิ่นๆ ซึ่งถือเป็นการเตรียมพร้อมรับกับวัยสูงอายุอย่างแท้จริง โดยรักษาสุขภาพจิตใจให้แข็งแรงเป็นอันดับแรก อย่าเครียด กังวลต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และมีจิตใจแจ่มใสอยู่เสมอ จากนั้น จึงดูแลเรื่องการดำเนินชีวิตเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง กินอาหารที่มีประโยชน์อย่างครบถ้วน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และงดบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นได้แล้ว

แม้ไม่อาจหยุดความเสื่อมของร่างกายได้ แต่คุณก็สามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับตนเองในบั้นปลายของชีวิตได้ทุกวันนะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

ระวังภัย !!! การหกล้มในผู้สูงอายุ อันตรายใกล้ตัว

การหกล้ม เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ แม้จะไม่อันตรายถึงชี

ต้อกระจก และต้อหิน สองโรคนี้ต่างกันอย่างไร?

โรคทางตาที่เรามักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งตัวผู้สูงอายุเองก็กลัวที่จะเป็น เพราะอาจส่งผล

ทานอาหารอย่างไร เมื่อเป็นโรคเกาต์

ในช่วงบั้นปลายของชีวิต คุณอาจอยากมีความสุขมากที่สุด ได้พักผ่อน ได้ทานของอร่อย แต่กา

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบในผู้สูงอายุที่ป้องกันได้

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบในผู้สูงอายุที่ป้องกันได้ โรคกระดูกพรุน

พฤติกรรมแบบใด เสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบ

ในวัยสูงอายุ ภูมิคุ้มกันจะลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด จึงอาจเกิดโรคต่างๆ ขึ้นได้ แม้ว่

หัวใจขาดเลือด ภัยใกล้ตัวของผู้สูงอายุ

โรคที่เมื่ออาการกำเริบแล้วอาจส่งผลถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต เชื่อว่าหลายๆ คนคงนึกถึ