ข้อควรรู้ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง



หากคุณสังเกตเห็นความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย เช่น อาการอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก มองเห็นภาพซ้อน บ้านหมุน หลงลืมบ่อยๆ ซึม พูดไม่คล่อง เป็นต้น อาการเหล่านี้อาจบ่งบอกได้ว่าคุณกำลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “อัมพฤกษ์” หรือ “อัมพาต” นั่นเอง

โดยปกติแล้ว เมื่อเกิดโรคหลอดเลือดสมองแล้ว บางรายจะดีขึ้นเอง บางรายอาการแย่ลง และบางรายอาจคงที่ และมีช่วงของการฟื้นตัวที่แตกต่างกันไป บางรายจึงอาจกลับมาเป็นปกติ ในขณะที่บางรายอาจยังมีความพิการหลงเหลืออยู่

การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

- ผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น อายุมาก สูบบุหรี่ มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคที่มีความเสี่ยง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวานไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ควรดูแลตนเองเป็นอย่างดี

- ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี วัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด เป็นระยะตามที่แพทย์แนะนำ ตรวจร่างกายว่ามีความผิดปกติของหัวใจหรือไม่ ถ้าผิดปกติต้องควบคุมและติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

- เลิกสูบบุหรี่ พบว่าการเลิกสูบบุหรี่สามารถลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ครึ่งหนึ่ง

- ลดน้ำหนักถ้ามีน้ำหนักเกิน

- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

- ผ่อนคลายความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ

- ในรายที่มีความเสี่ยงอาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยากันเลือดแข็งตัวเพื่อป้องกันอัมพาต ควรปฏิบัติตัวและติดตามการรักษาตามคำแนะนำอย่างใกล้ชิด

- ในรายที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน ต้องรับประทานยาป้องกันการเกิดซ้ำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่งดยาเอง

- ถ้ามีอาการที่สงสัยว่าอาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองดังกล่าวข้างต้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

ข้อปฏิบัติต่างๆ เหล่านี้ ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้มาก ดังนั้น ควรดูแลตนเองอย่างดี แม้ว่าจะมีความเสี่ยงหรือไม่ก็ตาม ที่สำคัญ ควรดูแลสุขอนามัยพื้นฐานให้ครบถ้วน และหมั่นทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ ก็เป็นเกราะป้องกันโรคภัยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ

อาการของโรคภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ จะเหมือนกับอาการของผู

รู้ทันโรคความจำเสื่อม

โรคความจำเสื่อม คงเป็นโรคที่ไม่มีใครปรารถนาจะอยากพบเจอ แม้ว่าจะมีชีวิ

ภาวะหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว ในผู้สูงอายุ

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจต่างๆ มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจ

ต้อกระจก และต้อหิน สองโรคนี้ต่างกันอย่างไร?

โรคทางตาที่เรามักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งตัวผู้สูงอายุเองก็กลัวที่จะเป็น เพราะอาจส่งผล

เรื่องน่ารู้ในการตรวจสุขภาพประจำปี

อย่างที่ทราบกันว่า เราควรตรวจสุขภาพประจำปีกันทุกคน โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น ยิ่งต้องตรวจอย่างละเอียดแ

4 ข้อควรทำ ในการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

สุขภาพจิตในผู้สูงอายุ มีความเสื่อมถอยสัมพันธ์กันกับสุขภาพร่างกาย เนื่องจากสภาพร่า