เมื่อทราบว่าเป็นต้อกระจก ควรทำอย่างไรดี



เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อะไรๆ ก็ดูจะด้อยลงทุกอย่าง ทั้งสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน และความเสื่อมภายในร่างกาย ที่ทำให้เจ็บป่วย หรือเป็นโรคเกิดขึ้นที่เป็นเช่นนี้เพราะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายจะทำงานด้อยประสิทธิภาพลง

โรคต้อกระจก เป็นโรคทางตาที่ถึงจะไม่ได้อันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็คงไม่มีใครอยากเป็นเนื่องจากเกิดขึ้นที่อวัยวะหนึ่งที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมากอย่างดวงตา

โรคต้อกระจก มักเกิดจากการเสื่อมลงของร่างกายตามอายุทำให้เลนส์ตาที่ช่วยในการปรับภาพให้เห็นชัดมีลักษณะขุ่นขาวไป อย่างไรก็ตามอาจเกิดจากโรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน ดวงตาได้รับการกระทบกระแทก ถูกแสงแดดจัดเป็นประจำ หรือการใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์

ถ้าคุณกำลังสงสัยว่าตนเองจะเป็นโรคต้อกระจก ควรปฏิบัติดังนี้

1. เช็คอาการ และไปพบแพทย์
ในระยะเริ่มแรกของโรคจะมีอาการตามัวเหมือนมีฝ้าบางๆ มาบังสายตา ตาจะค่อยๆ มัวมากขึ้นอย่างช้าๆ โดยไม่มีอาการปวดตา ในรายที่เป็นมากอาจมองเห็นเลนส์ตาขุ่นขาว ในบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ต้อหิน และเลนส์แก้วตาหลุดได้ อย่างไรก็ตาม การไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคจะมีความแม่นยำและเชื่อถือได้

2. รับการรักษา
- ในกรณีที่ยังเป็นไม่มาก และไม่รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันอาจไม่ต้องรักษาแต่ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์เป็น ระยะทุก 3-6 เดือน ในระยะที่เป็นไม่มากบางรายอาจมองเห็นได้ดีขึ้นถ้าใช้แว่นตัดแสงจ้าเปิดไฟให้สว่างขึ้น หรือใช้แว่นขยายช่วย
- ถ้าเลนส์ตาขุ่นมากทำให้มีปัญหาในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ควรได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเอาเลนส์ตาที่ขุ่นออกแล้วใส่เลนส์เทียม ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง หลังผ่าตัดผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาลและสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนหลังผ่าตัดเพียงแค่ 2-3 วันเท่านั้น

การป้องกันตนเองจากโรคต้อกระจก

- พยายามหลีกเลี่ยงการถูกแดดจัดสวมแว่นกันแดดถ้าต้องออกแดด
- ไม่สูบบุหรี่
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักใบเขียว
- ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจสายตาเป็นระยะ เช่น ตรวจทุก 2 ปี และในหากมีโรคประจำตัวบางอย่างที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาต่อการมองเห็น เช่น โรคเบาหวาน ควรได้รับการตรวจตาทุก 6-12 เดือน

ปัญหาเกี่ยวกับสายตา หากปล่อยไว้คงไม่ดีแน่ หากเริ่มต้นดูแลสายตาเสียแต่วันนี้ ก็จะช่วยป้องกัน และลดความเสี่ยงที่จะเป็นต้อกระจกได้มาก ผู้ที่เป็น ก็ควรดูแลตนเองอย่างดีเช่นกัน และไม่ควรปล่อยไว้อย่างเด็ดขาด


บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูแลตัวเองดี ก็ไม่ต้องกลัวโรคภัยในวัยสูงอายุ

แม้ว่าในวัยสูงอายุ จะมีโรคภัย และอาการเจ็บป่วยมาถามหาตลอดเวลา แต่ก็ใช่ว่าเราจะต้

ความหวาน ตัวการสร้างโรคในผู้สูงอายุ

โรคภัย ใครๆ ก็กล่าวว่าเป็นของคู่กันกับผู้สูงอายุ เพราะร่างกายที่อ่อนแอลง เสื่อมสภาพ

ยา...เรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย สำหรับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ร่างกายเสื่อมถอยลองมากอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่า

การดูแลตนเองเมื่อเข้ารับการฉายรังสีรักษาบริเวณสมอง

การฉายรังสีรักษา หรือฉายแสง เป็นการรักษาโรคมะเร็งวิธีการหนึ่ง ซึ่งการฉายรังสีรักษ

ความดันโลหิตสูง โรคภัยใกล้ชิดผู้สูงวัย

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ รวมถึงคนวัยทั่วไปก็สามารถเป็นได้ ส่วนใหญ่เมื่อความดัน

การดูแลตัวเอง เมื่อเป็นต้อเนื้อ และ ต้อลม

ต้อเนื้อ และ ต้อลม เป็นชนิดของโรคตา ที่ไม่รุนแรงเท่ากับต้อหินและต้อกระจก แต่