ในวัยสูงอายุ กระดูกย่อมอ่อนแอ และพรุนได้ง่ายมาก โรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะในเพศหญิง ซึ่งในเริ่มแรกจะไม่มีอาการชัดเจน รู้สึกเพียงแค่ปวดเมื่อย จนเมื่อกระดูกพรุนหรือบางมากก็จะเริ่มปวดกระดูกโดยเฉพาะที่หลังและสะโพก
สาเหตุหลักเกิดจากการดูดซึมของแคลเซียมในผู้สูงอายุลดลง และได้รับแคลเซียมจากอาหารน้อย ในแต่ละวันร่างกายต้องได้แคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอ กระดูกจึงจะแข็งแกร่ง โดยผู้หญิงวัยหมดระดูต้องการแคลเซียมวันละประมาณ 1,000 มิลลิกรัม ผู้ชายและผู้หญิงสูงอายุต้องการวันละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม แคลเซียมที่มีอยู่ในอาหารจะมีปริมาณต่างกัน ชนิดที่เป็นยาเม็ด ก็มี ดังนั้นควรเลือกกินแต่พอดี การกินมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการจะไม่มีประโยชน์ต่อกระดูก แต่กลับจะทำให้ท้องผูก
การแก้ไขปัญหากระดูกพรุนอย่างหนึ่ง ก็คือการทานอาหารที่มีแคลเซียม หรือดื่มนมแคลเซียมสูง ผู้สูงอายุควรดื่มนมวันละ 1 แก้วโดยควรดื่มนมพร่องมันเนย หรือ นมขาดมันเนยเพราะจะมีไขมันน้อย และมีแคลเซียมสูงแต่ถ้าอยากดื่มนมโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวก็จะมีความหวานมากขึ้นเพิ่มแคลอรี่มากขึ้น
ผู้สูงอายุบางท่านที่ดื่มนมไม่ได้ควรดื่มนมถั่วเหลืองแทนเนื่องจากได้โปรตีนจากถั่ว แต่จะต้องกินควบคู่ไปกับอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่นปลาเล็กปลาน้อย ก้างปลากรอบด้วย ซึ่งควรอ่านที่ฉลากเพื่อที่จะได้วางแผนการกินที่จะช่วยให้ร่างกายได้แคลเซียมแต่ละวันอย่างพอดี ดังตัวอย่างรายการอาหารและยาแคลเซียมโดยอาหารเสริมแคลเซียมแต่ละประเภท มีปริมาณแคลเซียมดังนี้
- นมสดยูเอชที (ควรเลือกดื่มนมพร่องมันเนย) ในปริมาณที่บริโภค 200 ซีซี (1 กล่อง) จะได้แคลเซียม 240มิลลิกรัม
- นมเปรี้ยวโยเกิร์ต ในปริมาณที่บริโภค 150 ซีซี (1 ขวด) จะได้แคลเซียม 150 มิลลิกรัม
- ปลาสลิด ในปริมาณที่บริโภค 1 ตัวจะได้แคลเซียม 106 มิลลิกรัม
- งาดำคั่ว ในปริมาณที่บริโภค 1 ช้อนโต๊ะ (5 กรัม) จะได้แคลเซียม 116 มิลลิกรัม
- เต้าหู้เหลือง ในปริมาณที่บริโภค1 ก้อนจะได้แคลเซียม 240 มิลลิกรัม
- ยาแคลเซียมคาร์บอเนต ในปริมาณที่บริโภค1 เม็ด (625 มิลลิกรัม) จะได้แคลเซียม 250 มิลลิกรัม
- ยาแคลเซียมอะซิเตต ในปริมาณที่บริโภค 1 เม็ด (1,000 มิลลิกรัม) จะได้แคลเซียม 250 มิลลิกรัม
- ยาแคลเซียมแลคเตรต ในปริมาณที่บริโภค 1 เม็ด (300 มิลลิกรัม) จะได้แคลเซียม 39 มิลลิกรัม
แคลเซียม เป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุ และควรจัดให้มีการเสริมแคลเซียมอยู่เป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันปัญหากระดูกผุกร่อน ปวดตามข้อกระดูกต่างๆ และยังช่วยให้ฟันแข็งแรงได้อีกด้วย
เตียงนอน เป็นเครื่องใช้ที่มีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เพรา
เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ คุณอาจมีความกังวลหลายอย่างเกิดขึ้นในจิตใจ เนื่องจากมีความเปลี่ยนแปลงหลาย
นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปี ผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจร่างกายในด้านต่างๆ เฉพาะทาง เพร
เมื่อหน้าฝนผ่านพ้นไป ลมหนาวก็เริ่มจะลง และอากาศก็เริ่มเย็นขึ้น แม้ว่าจะเป็นฤดูในฝั
ในช่วงวัยสูงอายุ สภาพร่างกายของผู้สูงอายุจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ด้อยลง ส่งผลให้เก