เวียนศีรษะ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้ามของผู้สูงอายุ



อาการเวียนศีรษะ เป็นอาการที่เกิดกับผู้สูงอายุได้บ่อยๆ แม้จะไม่ได้สร้างความเจ็บปวด แต่ก็ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต และอาจทำให้หกล้ม หรือเกิดอันตรายได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ อาการเวียนศีรษะนั้น ยังอาจบอกเล่าเรื่องราวของสุขภาพของคุณได้อีกด้วย

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะในผู้สูงอายุ

สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดอาการเวียนศีรษะและเสียการทรงตัว มีดังนี้

1. เกิดจากความเสื่อมโทรมของร่างกาย หรือความชรา ทำให้วิงเวียนศีรษะได้ง่าย หรืออาจเกิดหน้ามืด

2. เป็นโรคที่มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดการตีบของหลอดเลือด เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะทรงตัวหูชั้นในได้ไม่ดี หรือไปเลี้ยงสมองซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวไม่เพียงพอ ตัวอย่างโรคเหล่านี้ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น

3. เป็นโรคที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทการรับความรู้สึก ทำให้ระบบประสาทไม่สามารถรับความรู้สึกได้ว่าร่างกายกำลังอยู่ในท่าทางใด เช่น โรคเบาหวาน โรคไตวาย เป็นต้น

4. เป็นโรคที่มีผลต่อกล้ามเนื้อและกระดูก จะทำให้การทรงตัวแย่ลง แต่ไม่มีอาการเวียนศีรษะ เช่น ข้อเสื่อม หรือเคยมีกระดูกหักมาก่อน เป็นต้น

5. เป็นโรคของหูต่างๆ อาจทำให้หูทำงานแย่ลง เช่น หูน้ำหนวก โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นต้น

6. เป็นโรคอื่นๆ เช่น ซีด โรคต่อมไทรอยด์ เป็นต้น

การรักษาอาการเวียนศีรษะ

1. ได้รับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และรักษาตามสาเหตุของโรค

2. ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากลูกหลาน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแต่ไม่ควรช่วงพยุงตลอดเวลา เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถเดินเองได้

3. การรักษาโดยทั่วไปมี 3 วิธี คือ การใช้ยา หารผ่าตัด และการทำกายบริหาร ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุ และดุลยพินิจของแพทย์ว่าจะใช้การรักษาแบบใด

การทำกายบริหารในแต่ละวัน ถือเป็นทางออกในการรักษาที่คุณสามารถทำร่วมกับการรักษาของแพทย์ได้ และยังช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้อีกด้วย ดังนั้น แม้ว่าสาเหตุของอาการวิงเวียนศีรษะจะเกิดจากความชรา คุณเองก็สามารถทำกายบริหารได้ในทุกวัน แต่ไม่ควรหักโหม และควรมีญาติดูแลอย่างใกล้ชิด


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 สมุนไพร ห่างไกลความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีผู้เป็นมากถึงพันล้านคนในโลกนี้ ซึ่งพบได้ในผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะ

ภาวะขี้หูอุดตันในผู้สูงอายุ

แม้ว่าภาวะขี้หูอุดตันจะพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่ก็สามารถพบได้ในผู้สูง

โรคกระดูกสันหลังเสื่อม ภัยคุกคามคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ

โรคกระดูกสันหลังเสื่อม ทำให้หลังคดโก่ง กระดูกเลื่อน ปวดหลัง ปวดคอ ซึ

อาการที่บ่งบอกว่าขาดสารอาหาร และวิธีการแก้ไข

ในวัยสูงอายุนั้น การกินอาหารมักด้อยประสิทธิภาพลง เนื่องจากปัจจัยในหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่

การปฏิบัติตน เมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม

ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อ โดยเฉพาะสตรีในวัยทอง ที่มักมีปัญหากระดู

กฎ 5 ข้อ ป้องกันกระดูกพรุนในผู้สูงวัย

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นทุกวัน กระดูก ย่อมผุกร่อน และบางลงไปตามกาลเวลา ในวัยสูงอายุ จึงไม