การขาดฮอร์โมน การทดแทนฮอร์โมน และการเตรียมเข้าสู่วัยทอง



ในวัยสูงอายุ ตั้งแต่อายุเริ่มเข้าเลข 4 โดยเฉพาะเมื่ออายุเกิน 45 ปี ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายจะค่อยๆ ลดลง และหมดไปในที่สุดแล้ว แต่จะหมดเมื่ออายุเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน

อาการของการขาดฮอร์โมน
เมื่ออยู่ในช่วงที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง หรือการเตรียมเข้าสู่วัยทอง ร่างกายจะร้อนวูบวาบตามตัว เหงื่อออกตอนกลางคืน เยื่อบุช่องคลอดแห้ง มีอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ไม่มีอารมณ์ทางเพศ นอนไม่หลับ หงุดหงิด กังวล ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังทำให้กระดูกบางลง เกิดโรคกระดูกพรุน และเกิดโรคต่างๆ ในวัยสูงอายุตามมาได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์และโรคมะเร็ง เป็นต้น

การทดแทนฮอร์โมน
โดยปกติแล้ว ร่างกายของเราจะปรับสมดุลได้ตามธรรมชาติ จนหมดฮอร์โมนไปในที่สุด แต่สำหรับในรายที่มีปัญหาในการใช้ชีวิตมาก แพทย์อาจต้องให้ฮอร์โมนทดแทน

- หากได้รับยาฮอร์โมนอยู่แล้วเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ หรือโรคสมอง แพทย์อาจค่อยๆ หยุดยาลง แต่ถ้ารับประทานเพราะมีอาการของการขาดฮอร์โมนก็อาจลองลดยาลง ในขนาดที่ต่ำที่สุดที่ไม่ทำให้มีอาการกลับมาอีก หรือบางรายก็หยุดได้ในที่สุด ถ้ามีอาการหลังลดยาก็อาจต้องรับประทานยาต่อ

- การใช้ยาฮอร์โมนเพศทดแทนมี 2 กรณี คือ ในผู้ที่ประจำเดือนหมดก่อนเวลาอันควร เช่น ผู้ที่ผ่าตัดรังไข่ไป จะให้ยาฮอร์โมนจนผู้ป่วยอายุ 50 ปี จึงค่อยหยุดอีกกรณีคือผู้ที่มีอาการของการขาดฮอร์โมน ถ้าอาการที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนไม่มากนัก แพทย์อาจไม่ได้ให้ยาฮอร์โมนทดแทน แต่ถ้าอาการเป็นค่อนข้างมากอาจต้องให้ยาฮอร์โมนขนาดต่ำๆ ใช้ระยะสั้นๆ ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นจึงค่อยๆ เพิ่มขนาดยาฮอร์โมนขึ้น หรือให้การรักษาวิธีอื่นร่วมด้วย

อย่างไรก็ตามการกินยาฮอร์โมนเพศหญิงทดแทนอาจเพิ่มโอกาสเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก โรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคสมองเสื่อมได้

การเตรียมตัวเข้าสู่วัยทอง
การเตรียมตัวเข้าสู่วัยทอง สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำจิตใจให้แจ่มใส งดเว้นความเสื่อมต่างๆ เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เพียงเท่านี้ก็พร้อมรับมือกับวัยทองได้เป็นอย่างดี

การขาดฮอร์โมน และการเข้าสู่วัยทองไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแต่อย่างใด การเตรียมพร้อม ดูแลตนเองอย่างดีเสมอ จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้คุณพร้อมรับมือกับทุกช่วงวัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องพาผู้สูงวัยออกท่องเที่ยว

การท่องเที่ยว เป็นการเปิดหูเปิดตาที่ดี ทำให้ผ่อนคลายความเครียด สนุกสนาน เพลิดเพลิน

การขาดฮอร์โมน การทดแทนฮอร์โมน และการเตรียมเข้าสู่วัยทอง

ในวัยสูงอายุ ตั้งแต่อายุเริ่มเข้าเลข 4 โดยเฉพาะเมื่ออายุเกิน 45 ปี ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร

4 กิจกรรมคลายเหงา ให้กับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว เป็นการเปลี

เมื่อคุณเป็นผู้สูงอายุ ควรทำอย่างไรบ้าง

สิ่งที่สำคัญในผู้สูงอายุ คือการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องสุขภาพ เพราะเป็นช่วงวัย

วิธีการพัฒนาสมองของผู้สูงอายุ

ในวัยสูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความจำ และระบบประสาท ซึ่งมีผลต่อการได้ยิน และกา

จัดหน้าที่ให้ญาติผู้ใหญ่ ได้มีส่วนรับผิดชอบในบ้าน

ความรู้สึกที่ผู้สูงอายุมักคิดอยู่ในใจเสมอ คือตนเป็นคนที่ไร้ค่าในบ้าน นอกจากจะไม่สามารถทำงาน ดูแลตนเอง