ความชรา นำมาซึ่งอาการเจ็บป่วย และโรคภัย แม้ผู้สูงอายุบางท่านจะสุขภาพแข็งแรงดี ไม่เป็นโรคเบาหวาน ไม่เป็นโรคไต แต่โรคที่มาควบคู่กับอายุที่เพิ่มมากขึ้นก็ยากที่จะหลีกเลี่ยง นั่นคือ “ความดันโลหิตสูง”
ลูกหลานบางคนรู้สึกกังวลเมื่อพบว่าญาติผู้ใหญ่ของท่านเป็นความดันโลหิตสูง เนื่องจากหากไม่ควบคุมให้อยู่ในระดับปกติ อาจส่งผลเสียและเป็นอันตรายต่อตัวผู้สูงอายุได้เช่นกัน
ความดันโลหิตสูง แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม อายุ สภาพแวดล้อม อารมณ์ การรับประทานอาหาร หรือสิ่งต่างๆ แต่ก็สามารถป้องกัน และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในสภาวะปกติได้
การลดความดันโลหิตสูง
1. ลดโซเดียม และเพิ่มโพแทสเซียม
การลดโซเดียม คือการลดเกลือ ลดการทานเค็ม รวมถึงการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียม เพราะร่างกายต้องการโซเดียมเพียงวันละเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งการทานสิ่งที่มีโซเดียมปะปนอยู่ เป็นการทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากจนเกินไป เสี่ยงต่อโรคไต และความดัน
เพิ่มโพแทสเซียม และแมกนีเซียมให้ร่างกายจะดีกว่า โดยหาได้จากในผักและผลไม้สด เช่น กล้วย มันฝรั่ง และผักใบเขียวต่างๆ เป็นต้น
2. ดื่มน้ำสมุนไพร
น้ำสมุนไพรช่วยให้ร่างกายสดชื่น และยังช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งส่งผลต่อความดันโลหิตอีกด้วย ซึ่งน้ำสมุนไพรที่ควรดื่ม เช่น น้ำขึ้นฉ่าย น้ำกระเจี๊ยบแดง และน้ำใบบัวบก
3. จัดการกับอารมณ์ของตนเอง
อารมณ์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเป็นความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้น การลดความเสี่ยง หรือการลดความดันโลหิตให้กลับมาสู่สภาวะปกติได้ จึงจำเป็นต้องจัดการกับอารมณ์ของตนเอง ดังนี้
- หมั่นนั่งสมาธิ และฟังธรรมะ เพื่อช่วยให้มีสติ และจิตใจสงบขึ้น เข้าใจความเป็นไปของโลก และปลงต่อสิ่งต่างๆ มากขึ้น เป็นการช่วยรักษาระดับความดันโลหิตที่ดี
- ฟังเพลงคลายเครียด เสียงเพลงช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เย็นลง และสงบขึ้นได้
- ใช้น้ำมันหอมระเหยช่วย กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจะช่วยให้ผ่อนคลายจากความตึงเครียดได้ รู้สึกเหมือนได้พักผ่อน
- ยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเอง ปล่อยให้เป็นไปตามกาลเวลาและช่วงอายุ เข้าใจสัจธรรมของโลกนี้ และมีทัศนคติที่ดี แง่บวก ต่อสิ่งต่างๆ สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
แม้อายุจะเพิ่มมากขึ้น แต่หากคุณหมั่นทำจิตใจให้แจ่มใส ดูแลเอาใจใส่ในการกิน คุณก็จะยิ้มให้กับตนเองได้ แม้ว่าอายุจะเพิ่มขึ้นขนาดไหนก็ตาม
ใครๆ ก็พูดว่า “อาการนอนไม่หลับ เป็นโรคของคนแก่” นั่นก็หมายความว่า เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ใครๆ ก็ส
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เมื่อจะลุกจะนั่ง มักรู้สึกปวดเมื่อย หรือเจ็บปวดตามข้อต่างๆ ของร
ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เข้าใจให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพที่ดีโรคเบาหวานเป็
แม้ว่าผู้สูงอายุในครอบครัวของคุณจะผ่านช่วงวัยหนุ่มสาวมาอย่างไร หรือแข็งแรงมากแค่
สมองเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุโดยจำนวนอายุที่เพิ่มมากขึ้นจะเพิ่มความ
การหกล้ม เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ แม้จะไม่อันตรายถึงชี