ข้อปฏิบัติผู้สูงวัย หากไม่อยากสมองเสื่อม



อาการสมองเสื่อม ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ดูแลหลายท่านอาจเข้าใจว่าเป็นเพียงอาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดอาการหลงๆ ลืมๆ เพียงเท่านั้น ซึ่งในความจริงแล้วอาการสมองเสื่อมมีความรุนแรง และเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน

เมื่ออายุมากขึ้นสมองก็จะเริ่มแสดงอาการผิดปกติออกมาให้เห็น เช่น อาการหลงลืมเป็นครั้งคราว ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของคนทั่วไป แต่ภาวะสมองเสื่อมนั้น ถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมักมีอาการหลงลืม นึกคำพูดไม่ออก หลงทาง และบุคลิกภาพแปรเปลี่ยนไปจากเดิมจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เหมือนเดิม ซึ่งสาเหตุหลักของโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ และโรคหลอดเลือดสมอง

ข้อควรปฏิบัติที่ผู้สูงอายุควรใส่ใจ เพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม และฝึกสมอง มีด้วยกันหลายวิธีและหลายๆ ด้านประกอบกันไป ดังนี้

1. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด

2. ระวังเรื่องการใช้ยา ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาทุกครั้งและควรนำยาที่ท่านรับประทานเป็นประจำไปให้แพทย์ดูด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงการสั่งยาซ้ำซ้อน

3. ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกระเทือนศีรษะ

4. สำหรับผู้สูงอายุที่เดินลำบากควรมีคนดูแลเพื่อป้องกันการหกล้ม

5. เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุควรหมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และไม่ควรลืมเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูง

6. หมั่นไปตรวจความดันเลือดสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด หากพบว่าเป็นความดันโลหิตสูงก็ต้องปฏิบัติตนตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพราะมีผลกระทบต่อภาวะสมองเสื่อมได้

7. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ไม่หักโหมจนเกินไป

8. หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความเครียด อาจเป็นกิจกรรมที่ชอบ หรือเข้าสังคมเพื่อบำเพ็ญประโยชน์

9. เมื่อสังเกตว่าเริ่มมีอาการหลงๆ ลืมๆ มากผิดปกติ หรือมีอาการบ่งชี้อื่นๆ ที่น่าสงสัยก็ควรรีบไปพบประสาทแพทย์ หรือแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุทันที

10. หมั่นฝึกใช้สมอง มีสมุดบันทึกติดตัว ทำทุกสิ่งอย่างมีสติ เล่นเกมที่ฝึกสมอง หรือผู้ดูแล คนในครอบครัวควรหมั่นถามไถ่ให้ผู้สูงอายุได้ตอบ เป็นการฝึกความจำเช่นเดียวกัน

หากพบว่าผู้สูงอายุมีอาการหลงๆ ลืมๆ เริ่มมีปัญหาในเรื่องความจำ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และมีส่วนในการดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความดันโลหิตสูง ควบคุมได้

ความชรา นำมาซึ่งอาการเจ็บป่วย และโรคภัย แม้ผู้สูงอายุบางท่านจะสุขภ

คุณมีกระหรือไม่ กระในผู้สูงอายุเกิดได้อย่างไร และป้องกันอย่างไร

เรามักสังเกตเห็นว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุมากๆ มักมีกระบริเวณใบหน้า และผิวส่วนต่างๆ

ผู้สูงอายุมีปัญหาการได้ยิน จะดูแลอย่างไร

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น สภาพร่างกายย่อมเสื่อมถอยลง โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ ที่สภาพร่างก

การดูแลสุขภาพผิวสำหรับผู้สูงอายุ

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะทำงานได้ลดลง ประสิทธิภาพด้อยลง และส่งผ

หน้ามืด วิงเวียน เป็นลม อาการของผู้สูงอายุ

อาการหน้ามืด วิงเวียน เกิดขึ้นได้เมื่อผู้สูงอายุปรับเปลี่ยน

ผู้ป่วยสมองเสื่อม ควรดูแลอย่างไร

ภาวะสมองเสื่อม เป็นภาวะที่ไม่มีผู้สูงอายุท่านใดอยากประสบพบเจอ เพราะอาจทำให้สูญเสี