ในแต่ละช่วงอายุของคนเรา ย่อมมีความเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แม้จะดูว่าภายนอกไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเท่าใดนัก แต่ภายในร่างกาย ก็ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัย สำหรับผู้สูงอายุ เป็นวัยที่เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่เสื่อมถอยลง จึงไม่มีใครอยากจะก้าวล่วงล้ำเข้ามาในช่วงวัยนี้ แต่ก็ไม่อาจฝืนกฎของเวลา ที่ไม่เคยย้อนกลับมาได้
ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุด จึงคือการเตรียมพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพื่อช่วยให้ใช้ชีวิตกับช่วงวัยนั้นได้อย่างมีความสุข ไม่แพ้ในช่วงอายุอื่นๆ ที่ผ่านมา
โดยในวัยสูงอายุจะแบ่งการเปลี่ยนแปลงออกเป็น 3 ช่วงอายุ ดังนี้
อายุ 40-49 ปี
- ริ้วรอยร่องแก้ม และตีนกา
- ผมเริ่มขาว บางลง ควรทานอาหารที่ช่วยบำรุงผมให้ดกดำ และเงางาม
- ข้อแข็ง เคลื่อนไหวลำบาก
- สายตาเริ่มยาว
อายุ 50-79 ปี
- ผิวหนังอาจจะเริ่มแห้งกร้าน ความยืดหยุ่นลดลง และเริ่มมีขี้แมลงวันขึ้นตามผิวหนัง
- ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง
- กระดูกเริ่มอ่อน และอาจจะมีการโค้งงอ
- ผู้หญิงจะไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป และไม่สามารถที่จะมีลูกได้อีกต่อไป
- ผู้ชายยังคงมีการผลิตสเปิร์ม แต่การทำให้เกิดการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ต้องใช้ระยะเวลาที่นานขึ้น
- ปฏิกิริยาตอบสนอง การย่อยอาหารก็จะช้าลง
อายุ 80 ปีขึ้นไป
- ความสามารถในการบังคับกระเพาะปัสสาวะลดลง
- ความจำ โดยเฉพาะความจำระยะสั้นจะเสื่อมถอยลง อาจจะพบว่าเกิดความสับสนบ้าง
แม้เราไม่อาจย้อนวันเวลา และฝืนกฎของเวลาได้ แต่เราสามารถรับมือ ด้วยการดูแลตนเองเป็นอย่างดีได้ ดังนั้น หากคุณดูแลตัวเองอย่างดีมาต่อเนื่อง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สุขภาพจิตดี หลีกเลี่ยงแสงแดด ไม่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ก็จะช่วยชะลอวัยไปได้มาก และยังช่วยให้เคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่ว อายุยืนยาวอีกด้วย
โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายก็จริง แต่อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดต่อจิตใจ
สิ่งที่สำคัญในผู้สูงอายุ คือการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องสุขภาพ เพราะเป็นช่วงวัย
เข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุแล้ว สุขภาพอะไรต่างๆ นานา ก็ย่อมที่จะเสื่อมโทรมไปตามสภาพ สายตา
หากผู้สูงอายุที่บ้านของท่าน มีปัญหาเรื่องการฟัง คือฟังไม่ค่อยได
การที่ผู้สูงอายุชอบเล่าเรื่องราวในอดีตเป็นพฤติกรรมที่พบได้ทั่วไป ซึ่งมีรากฐานมาจากหลายปัจจัย นี่คือเ
10 ปัญหาสุขภาพพบบ่อยในผู้สูงอายุ ป้องกันก่อนกระทบคุณภาพชีวิต เมื่ออายุมากขึ้น ร่าง