การศึกษา เป็นสิ่งที่คนเราทุกคนขวนขวาย แม้หลายคนจะไม่ชอบศึกษาในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ย่อมที่จะอยากศึกษาในอีกสิ่งหนึ่งซึ่งตามความชอบของตนเอง ผู้สูงอายุก็เช่นกัน
ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุมิได้กำหนดรายละเอียดการจัดบริการการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุไว้ แต่รายละเอียดต่างๆสามารถพิจารณาได้จากกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งได้กำหนดหลักการในการศึกษาให้ผู้สูงอายุสามารถศึกษาหาความรู้เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนได้หลายทาง ที่สำคัญได้แก่
1. การศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งเป็นการหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ การทำงาน จากบุคคลและจากสถานที่ต่างๆได้ตลอดเวลา
2. การเรียนรู้จากศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ที่จัดการศึกษา การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ให้แก่คนในชุมชน
3. การเรียนรู้จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดการศึกษาให้กลุ่มเป้าหมายพิเศษต่างๆ รวมถึงผู้สูงอายุด้วย
นอกจากนั้นกระทรวงศึกษาธิการยังได้กำหนดวิธีการให้บริการด้านการศึกษาแก่ผู้สูงอายุในลักษณะต่างๆในรายละเอียด ดังนี้
- การจัดบริการข้อมูลข่าวสารให้ครอบคลุมการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ แลการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งการทำฐานข้อมูลทางการศึกษา การฝึกอบรมผู้สูงอายุ
- การจัดบริการการศึกษาอย่างต่อเนื่องทั้งในรูปของการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้แก่ผู้สูงอายุ
- การสนับสนุนสื่อทุกประเภทให้มีรายการสำหรับผู้สูงอายุ
- การส่งเสริมให้หน่วยงาน สถานศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุ
- การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนแก่ผู้สูงอายุ
- การคุ้มครองการผลิตสื่อความรู้และอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้สูงอายุ
- การจัดทำหลักสูตรเกี่ยวกับผู้สูงอายุในขั้นพื้นฐานถึงอุดมศึกษา
- การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตงานวิจัยเพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ
“ไม่มีใครแก่เกินเรียน” คำนี้ยังคงใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย สำหรับผู้สูงอายุที่เคยพลาดโอกาสในการศึกษา หรืออยากศึกษาเพิ่มเติม ก็สามารถทำได้ดังใจแล้วนะคะ
คนเราทุกคนมีภาระหน้าที่ของเราในแต่ละวันแตกต่างกันออกไป เริ่มตั้งแต่ตื่นเช้า อาบน้ำ รับประทานอาหาร ทำง
การตรวจสุขภาพประจำปี มีความจำเป็นต่อทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งอยู่ในวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมากที
ผิวแก่แดดหรือ Photo Aging หมายถึงปัญหาผิวของผู้สูงอายุที่ถูกแดดมาเป็นเวลานาน เพราะแสงแดดเ
ยา เป็นสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับผู้สูงอายุเสมอ เรามักพบเห็นว่า ผู้สูงอายุแต่ละท่านจะมียาประจำของตนเอง หร
เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น ทุกอย่างก็เริ่มจะหย่อนยานไปตามกาลเวลา ที่ตึงขึ้นทุกวันๆ ก็เห็นจะเป็นหูนั่นเอง ด