ขนมหวาน เพชฌฆาตร้ายในผู้สูงอายุ



เมื่ออายุเข้าสู่เลข 5 เลข 6 ผู้สูงอายุมักจะเริ่มปล่อยปะละเลยตนเองในเรื่องอาหารการกิน เพราะไม่ห่วงเรื่องหุ่นสวยๆ อีกแล้ว และมักเลือกทานแต่ของชอบ เพื่อให้ชีวิตมีความสุข และหนึ่งในของชอบ คือ ขนมหวาน

ยิ่งผู้สูงอายุที่อายุมาก จะยิ่งชอบรับประทานขนมไทย ขนมหวานต่างๆ ที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบสำคัญ เพราะรู้สึกว่ารสชาติอย่างไทย และถูกปากคนวัยอย่างเรา ซึ่งขนมหวานเหล่านี้ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ เช่น ไขมันอุดตันเส้นเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

โรคจากขนมหวาน
เมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่ควรหลีกเลี่ยงการทานขนมหวาน เพราะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเป็นอย่างมาก ทำให้ขาดสารอาหาร ภูมิต้านทานลดลง และป่วยง่าย ซึ่งอันที่จริงในทุกวัยก็ควรทานขนมหวานในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น

ในผู้สูงอายุนั้น การทานของหวานมากจนเกินไปหรือไม่เลือกทาน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนกลายเป็นโรคเบาหวาน และหากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ อาจนำโรคแทรกซ้อนมาสู่ร่างกาย ทั้งโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสเป็นถึงร้อยละ 60 - 65 โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง มีโอกาสเป็นถึง 2 - 4 เท่า และมีโอกาสพบโรคแทรกซ้อนเรื้อรังอย่างใดอย่างหนึ่งได้ถึงร้อยละ 50

ผลการวิจัยทางการแพทย์ล่าสุด ได้สรุปข้อมูลที่ค่อนข้างน่าวิตกเกี่ยวกับการบริโภคน้ำตาลในของหวานชนิดต่างๆ ว่าทำให้ความสมดุลของแร่ธาตุในร่างกายเปลี่ยนไปภูมิต้านทานโรคต่ำลง เมื่อบริโภคต่อเนื่องเป็นเวลานานไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ร่างกายเกิดการเผาผลาญน้ำตาลบ่อยเกินไป เร่งให้เกิดอนุมูลอิสระ ส่งผลให้มีการเซื่องซึม เหนื่อยง่าย คิดช้า ไม่กระตือรือร้น ขาดประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิต

นอกจากนี้ นักวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกายังแนะนำวิธีทานขนมหวานว่า ควรบริโภคของหวานที่ทำมาจากคาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสี มีกากใยสูง เช่น ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ ข้าวซ้อมมือ ธัญพืชต่างๆ ซึ่งใช้น้ำตาลเพียงเล็กน้อย เช่น เต้าส่วน ถั่วเขียวต้มน้ำตาล จะดีที่สุด               

อย่างไรก็ตาม ขนมหวาน ก็ยังเป็นอาหารที่สร้างความสุขในการรับประทาน ช่วยให้จิตใจผ่อนคลาย อารมณ์ดี มีสุขภาพจิตที่ดีได้ แต่ก็มีโทษเช่นกัน หากรับประทานมาก ดังนั้น คุณจึงควรทานขนมหวานอย่างพอดี อาจต้องรู้จักมีวินัยในตนเอง รู้จักควบคุมปริมาณของหวานให้เหมาะสม และออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย

หากตามใจปากในวันนี้ อาจลำบากกายในวันหน้าได้ เพราะฉะนั้น กินอย่างพอเหมาะ ดังนั้น ท่องไว้ว่า ไม่ตามใจปาก ก็ไม่ลำบากกายนะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

ต้อกระจก และต้อหิน สองโรคนี้ต่างกันอย่างไร?

โรคทางตาที่เรามักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งตัวผู้สูงอายุเองก็กลัวที่จะเป็น เพราะอาจส่งผล

ความดันโลหิตต่ำ ภาวะอันตรายที่พึงระวัง

หากพูดถึงความดันโลหิตสูง คงเป็นที่รู้จักของใครหลายๆ คน และเป็นภาวะที่ผู้ที่มีน้ำ

ภาวะหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว ในผู้สูงอายุ

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจต่างๆ มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจ

เรียนรู้และป้องกันโรคกรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ

โรคกรดไหลย้อน จะพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป มากกว่าวัยหนุ่มสาว โดยมักจะเกิดอาการหลังรั

การดูแลตนเองเมื่ออยู่ในสภาวะสูญเสีย

ไม่ว่าใคร และในช่วงวัยใดก็ตาม ก็ย่อมต้องเผชิญกับความสูญเสียด้วยกันทั้งสิ้น แต่สำหร

กินดี มีสุขภาพยืนยาว

อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลง และเกิดโรคภัยต่างๆ ตามมา ปัจจัยหนึ่งที่คุณสามารถควบคุมได