ข้อเข่าเสื่อม ดูแลรักษาตนเองได้อย่างไรบ้าง



ในผู้สูงอายุ เรามักพบปัญหาข้อเข่าเสื่อมได้บ่อยๆ เนื่องจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง อาจเคยได้รับบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุต่างๆ มา หรือเกิดจากการที่มวลกระดูกลดน้อยลง โรคข้อเข่าเสื่อม แม้ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็สร้างความเจ็บปวด และความรำคาญใจให้กับผู้สูงอายุได้ไม่น้อย เนื่องจากขาของคนเราต้องใช้งานตลอดทั้งวัน ผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม จะพบว่า มีปัญหาปวดเข่า นั่งยองๆ ไม่ได้ ขึ้นลงบันไดลำบาก นั่งเก้าอี้เตี้ยแล้วลุกยาก เหล่านี้ล้วนจำกัดความสามารถในการใช้เข่าของผู้สูงอายุอย่างมาก

ในการรักษาและการดูแลตนเองสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น แพทย์มักให้คำแนะนำในการดูแลตนเองอย่างถูกต้องในชีวิตประจำวัน เช่น หลีกเลี่ยงการก้มหรือเงยที่ไม่จำเป็น วิธีการยกของท่าทางการนั่งหรือนอน รวมทั้งวิธีการลุกจากท่านอน ที่ถูกต้อง เป็นต้น

การดูแลรักษาตนเองของผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม สามารถทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

- การใช้ความร้อนประคบ เพื่อลดอาการปวดเข่า ช่วยคลายกล้ามเนื้อโดยรอบเข่า

- การบริหารกล้ามเนื้อหน้าขาให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดแรงกระทำต่อข้อเข่า

- การใช้สนับเข่า ช่วยให้ข้อเข่ากระชับมากขึ้น ซึ่งจะลดอาการปวดได้ดีในระยะแรก แต่ถ้าใช้นานๆ กล้ามเนื้อหน้าขาจะลีบ เนื่องจากการไม่ได้ใช้งานนานๆ ดังนั้น ควรมีการบริหารกล้ามเนื้อเข่าร่วมด้วยเสมอ

- การใช้ไม้เท้าช่วยเดิน ให้ถือไม้เท้าด้านตรงข้ามกับเข่าข้างที่ปวดมาก ประโยชน์ของไม้เท้าคือ ลดแรงกระทำต่อข้อเข่า และลดอาการปวดเข่า ในบางรายมีอาการปวด 2 ข้าง และโรคมีความรุนแรงมาก อาจต้องพิจารณาใช้คอกช่วยเดิน ซึ่งจะช่วยลดแรงกระทำต่อข้อเข่า และช่วยเพิ่มความมั่นคงในการเดินได้มากกว่าการใช้ไม้เท้า

- การแนะนำการใช้ข้อเข่าในชีวิตประจำวัน เช่น เลี่ยงการงอเข่า พับเข่า นั่งยองๆ หรือขัดสมาธิ เลี่ยงการขึ้นลงบันไดที่ไม่จำเป็น ซึ่งอิริยาบถเหล่านี้จะเพิ่มแรงเครียดในข้อเข่า ทำให้ข้อเสื่อมได้เร็วขึ้น และจะยิ่งทำให้เกิดอาการปวดมากขึ้นด้วย

ปัญหาข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาเรื้อรังที่บ่อนทำลายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ดังนั้น ควรได้รับคำปรึกษา และคำแนะนำจากแพทย์ รวมถึงใช้ชีวิต ทำกิจวัตรอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยป้องกัน บรรเทาอาการเข่าเสื่อมไปได้อย่างมาก


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันโรคมะเร็งดวงตา

แม้ว่าโรคมะเร็งดวงตา จะเกิดได้น้อยมาก แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น เราจึงควรรู้ทันโรคมะ

หน้ามืด วิงเวียน เป็นลม อาการของผู้สูงอายุ

อาการหน้ามืด วิงเวียน เกิดขึ้นได้เมื่อผู้สูงอายุปรับเปลี่ยน

รู้ไว้ ห่างไกลโรคไต

โรคไต เป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะถามไถ่ผู้สูงอายุท่านใด ส่วนมากก็จะเป็นโรคไตร่วมด

กฎ 5 ข้อ ป้องกันกระดูกพรุนในผู้สูงวัย

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นทุกวัน กระดูก ย่อมผุกร่อน และบางลงไปตามกาลเวลา ในวัยสูงอายุ จึงไม

5 โรคภัย ในหน้าหนาวสำหรับผู้สูงอายุ

ในหน้าหนาว หรือวันที่มีอากาศหนาว รวมถึงการนอน หรืออาศัยอยู่ในที่ที่มีความชื้นและอากา

การป้องกันการติดเชื้อ และโรคประจำตัวในผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ โรคภัยต่างๆ ก็มักจะเข้ามารุมเร้า และเกิดอาการเจ็บป่