สุขภาพที่ดี ใครๆ ก็อยากมีกันทั้งนั้น ยิ่งเมื่อต้องก้าวเข้าสู่ช่วงวัยที่ร่างกายมีแต่จะเสื่อมถอยลงทุกวัน อย่างช่วงสูงวัย ก็ยิ่งอยากที่จะมีสุขภาพที่แข็งแรง มีอายุยืนยาวด้วยกันทั้งสิ้น
หากอยากมีสุขภาพที่แข็งแรง มีอายุยืนยาว จิตใจร่าเริง และมีความสุขได้ทุกวันนั้น ต้องเริ่มดูแลตนเองเสียตั้งแต่วันนี้ ยิ่งหากเริ่มดูแลตนเองมาเป็นอย่างดีตลอดที่ผ่านมาด้วยแล้ว การจะมีอายุยืนยาว สุขภาพดี ดูอ่อนกว่าวัย ฟิตปึ๋งปั๋งเหมือนหนุ่มสาว ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลยนะคะ แต่หากจะเริ่มต้นเสียตั้งแต่วันนี้ ก็ยังไม่สายไปค่ะ
เคล็ดลับ 9 ประการ ที่จะช่วยให้คุณสูงวัยอย่างมีความสุขได้ในทุกวัน มีดังนี้
1. ควบคุมโภชนาการให้เหมาะสมกับร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รสเค็มจัด และอาหารรสหวาน ทานอาหารที่ไม่เหนียว แข็ง และมีกากใยอาหารมากๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
2. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งทำให้คุณแก่ลงอย่างรวดเร็ว และเสี่ยงที่จะเป็นโรคปอด โรคหัวใจ โรคตับแข็ง ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็งได้
3. ออกกำลังกาย โดยเลือกประเภทการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3วัน ครั้งละ 30นาที
4. ควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ไม่อ้วนจนเกินไป
5. ทำจิตใจให้แจ่มใส มองโลกในแง่บวก ไม่ยึดติดกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ ซึ่งช่วยให้จิตใจแจ่มใสในทุกวัน ไม่หงุดหงิดง่ายได้
6. หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย เมื่อเกิดอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
7. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม หรือซื้อยากินเอง หรือทานยาเก่าที่เหลือเก็บมานานแล้ว
8. ควรพบแพทย์สม่ำเสมอ และทานยาให้ครบถ้วน
9. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ทุก 6-12 เดือน และตรวจโดยเลือกโปรแกรมที่ตนมีความเสี่ยงเพิ่มเติมด้วย เพื่อเป็นการป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ
หากอยากมีสุขภาพดี อายุยืนยาว อยู่กับลูกหลานไปนานๆ ก็ไม่ยากเลยนะคะ เพียงแค่ปฏิบัติตามเคล็ดลับ 9 ประการนี้ให้ได้ ก็มีความสุขได้ทุกวันอย่างแน่นอนค่ะ
ในปัจจุบัน ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องของสุขภาพกันมากขึ้น เนื่องจากอาหารที่ดี ช่วยเสริมส
ผู้สูงอาย เป็นวัยที่ไม่มีใครอยากเข้า เพราะเป็นวัยที่สภาพร่างกายเสื่อมโทรมลงอย่างร
อันตรายจากควันธูป ภัยเงียบที่ผู้สูงอายุต้องระวังเพื่อสุขภาพที่ดี ควันธูปเป็นสิ่
เมื่อคนเราอายุ 30 ปีขึ้นไป ร่างกายจะเสื่อมถอยลง การทำงานต่างๆ ในร่างกายที่เคยทำงานได้
ผู้สูงอายุนอกจากมีความต้องการการดูแลจากครอบครัวและสังคมแล้ว ผู้สูงอายุเองควรรู้