โรคข้อเสื่อม เป็นโรคอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นได้มากในวัยสูงอายุ โดยเฉพาะบริเวณข้อเข่า ข้อมือ และข้อสะโพก พบมากในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งเกิดจากการสะสมมาอย่างยาวนานจึงเริ่มแสดงอาการปวด
โรคข้อเสื่อม เกิดจากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลาย และไม่สามารถซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ทันกับการถูกทำลายจึงส่งผลต่อการรับน้ำหนักในการดำเนินชีวิตประจำวัน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมได้นั้น มีหลายอย่าง เช่น
- อายุที่มากขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถแก้ไขได้ สิ่งที่แก้ไขได้ คือการดูแลตนเองให้เหมาะสมกับช่วงวัย และเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรง
- เพศหญิงมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมได้มากกว่าเพศชาย เนื่องจากฮอร์โมนเพศที่ลดลง และหมดไปในเพศหญิง ส่งผลให้กระดูกพรุน และบางลง เสื่อมได้ง่าย
- มีกิจกรรมมากในแต่ละวัน รวมถึงการเล่นกีฬาที่ทำให้เกิดแรงกระแทกเป็นประจำ จึงควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อ เช่น การนั่งยอง คุกเข่า ขัดสมาธิ พับเพียบ การเล่นกีฬาที่ทำให้เกิดแรงกระแทกรวมถึงไม่ใช้งานข้อต่างๆ อย่างหนักและต่อเนื่อง
- โรคอ้วนและน้ำหนักตัวที่เกินควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อนั้นๆ มาก่อนหากมีข้อบวมมาก ข้อติด ปวดข้อเรื้อรัง และมีข้อผิดรูป ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
- แนวกระดูกผิดรูป เช่น เข่าโก่ง
- กรรมพันธุ์หากเป็นสาเหตุจากกรรมพันธุ์ สามารถดูแลตนเองได้ด้วยการควบคุมโภชนาการที่ดี และออกกำลังกาย จะช่วยทุเลา และลดปัจจัยเสี่ยงไปได้
- เป็นโรคเยื่อบุข้ออักเสบเรื้อรัง
การป้องกันโรคข้อเสื่อมนั้น ควรดูแลเรื่องโภชนาการให้ถูกต้อง ออกกำลังกาย เคลื่อนไหวข้อและกล้ามเนื้อสม่ำเสมอนอกจากนี้ยังควรนอน เดิน ลุกขึ้นให้ถูกวิธี รวมถึงไม่ยกของหนักบ่อยๆ และยกของหนักอย่างถูกวิธี ให้หลังตรง ก็จะช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม และความเจ็บปวดจากการปวดข้อต่างๆ ได้
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจต่างๆ มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจ
มะเร็งตับ รู้ทัน ป้องกัน รักษาได้ เพื่อสุขภาพที่ยืนยาวมะเร็งตับ เป็นโรคร้ายที่เกิ
เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ นอกจากสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง จนอาจเกิดอาการเจ็บ
ความดันของคนเราปกติจะอยู่ที่120/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งการที่ความดันโลหิตสูงมักเกิดจากสภาวะอารมณ์ หรือกิจกร
ในวัยสูงอายุ เรามักพบว่า มีผู้สูงอายุจำนวนมาก ที่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง และมีโรค
โรคเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งโรค ที่มักพบในผู้สูงอายุ เนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ป