อาการท้องผูก เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุทุกคน เกิดจากการที่ระบบร่างกายทำงานแปรปรวนไป และไม่ดีเหมือนเก่า ส่งผลให้ระบบย่อยและดูดซึมอาหารไม่ดี ส่งผลถึงการขับถ่ายด้วยเช่นเดียวกัน
ปัญหาท้องผูก แม้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่ก็สร้างความรำคาญใจ และความทรมานให้กับผู้สูงอายุได้ไม่น้อย ยิ่งหากท้องผูกต่อเนื่องติดต่อกัน อาจทำให้เป็นอันตรายได้
การทานอาหาร เพื่อป้องกันอาการท้องผูก สามารถทำได้ดังนี้
แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ
การทานอาหารครั้งเดียวเป็นมื้อใหญ่ๆ อาจทำให้อาหารย่อยได้ยากขึ้น และเกิดอาการท้องผูกขึ้นได้ ดังนั้น ควรเปลี่ยนมาเป็นมื้อย่อยๆ โดยให้เป็นมื้อบ่อยขึ้นเช่น จากปกติแบ่งเป็น เช้า กลางวัน เย็น ก็เปลี่ยนเป็น เช้า สาย บ่าย เย็น หัวค่ำ โดยให้มีปริมาณอาหารที่น้อยลงแทน
ทานอาหารที่เหมาะสม
อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ควรมีลักษณะดังนี้
- มีความอ่อนนุ่ม เคี้ยวได้ง่าย
- เป็นอาหารประเภทตุ๋น ต้ม อบ และหลีกเลี่ยงอาหารปิ้ง ย่าง ทอด
- มีผักอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง เพื่อเพิ่มกากใยให้มื้ออาหาร
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด น้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควรดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วต่อวัน
ฝึกนิสัยการขับถ่าย
นอกจากการทานอาหารที่เหมาะสมแล้ว ควรฝึกนิสัยการขับถ่าย ควรขับถ่ายให้ได้ทุกเช้า ให้เวลาในการนั่งให้นานๆ ไม่รีบร้อน
ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุ ไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วงนัก หากว่าคุณดูแลตนเองเป็นอย่างดี และทานอาหารให้เหมาะสม ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหาร อีกทั้งสร้างวินัยในการขับถ่าย ก็จะช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้
ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และต้องอาศัยการระมัดระวัง เพราะอาจส่งผลต่อร่างกาย
การฉายรังสีรักษา หรือฉายแสง เป็นการรักษาโรคมะเร็งวิธีการหนึ่ง ซึ่งการฉายรังสีรักษ
ในวัยสูงอายุ เป็นที่ทราบกันดีว่า นอกจากโรคภัยต่างๆ ที่เข้ามาถามหาแล้
อาการสมองเสื่อม ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ดูแลหลายท่านอาจเข้าใจว่าเป็นเพียงอาการที่เกิด
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีปัญหาในการกิน การย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อส