หลักธรรมประจำใจในการใช้ชีวิตวัยสูงอายุอย่างมีความสุข



ในวัยสูงอายุ ผ่านประสบการณ์มามาก ย่อมต้องกลัวที่ลูกหลานจะเกิดซ้ำรอยความผิดพลาดของตนเอง คาดหวังการเห็นลูกหลานประสบความสำเร็จสูง และยังมีปัจจัยด้านความมั่นคงเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะตนเองไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป ต้องพึ่งพาผู้อื่น ไม่สามารถหาเงินทองได้ และไม่มีสิ่งที่ภูมิใจในตนเองอีก เป็นต้น

ธรรมะ เป็นสิ่งที่จะช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจ ช่วยให้เกิดความสงบ รู้จักเข้าใจความเป็นไปอย่างมีสติมากขึ้น ซึ่งหลักธรรม 3 อย่าง ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขที่แท้จริงได้ มีดังนี้

1. พรหมวิหาร 4
เมตตา ผู้สูงอายุควรมีความปรารถนาดี  การมองกันในแง่ดี  ความเห็นใจ  ความห่วงใย
กรุณา ผู้สูงอายุควรพยายามช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัวทุกคนให้ผ่านพ้นจากความทุกข์ยาก เดือดร้อน
มุทิตา ผู้สูงอายุควรประคับประคองจิตใจให้แช่มชื่นเบิกบาน  มีใจพลอยยินดีกับความสำเร็จต่างๆ
อุเบกขา ผู้สูงอายุควรพิจารณาสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงและปราศจากอคติ  แล้วปฏิบัติอย่างเที่ยงธรรม

2. อธิษฐาน 4
การใช้ปัญญา ผู้สูงอายุควรอยู่ร่วมกันกับสมาชิกในครอบครัวโดยใช้ปัญญาเหนืออารมณ์ 
การรักษาความสัตย์ ผู้สูงอายุควรดำรงตนให้มั่นคงอยู่ในความจริงและรักษาความจริงกับสมาชิกในครอบครัว
ความยินดีเสียสละ ผู้สูงอายุควรยินดีเสียสละความสุขสบายเฉพาะของตนเองได้  เพื่อความสุขของครอบครัว
การหาความสุขสงบ ผู้สูงอายุควรหาความสุขสงบ รู้รสของความสงบและสันติสุข  รู้จักทำจิตใจให้ผ่องใส

3. สังคหวัตถุ 4
ทาน ผู้สูงอายุควรแบ่งปันลาภผลที่ได้มาหรือสะสมไว้ให้แก่สมาชิกในครอบครัวทุกคนอย่างถูกต้องและเป็นธรรม  รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่มีประโยชน์ให้ตามความเหมาะสม
ปิยวาจา ผู้สูงอายุควรพูดด้วยถ้อยคำสุภาพ ไพเราะ ชวนฟัง ชักจูงสิ่งที่ดีงามให้แก่สมาชิกในครอบครัว
อัตถจริยา ผู้สูงอายุควรขวนขวายช่วยเหลือแบ่งเบาภารกิจต่างๆ ของสมาชิกในครอบครัวเท่าที่จะทำได้ 
สมานัตตตา ผู้สูงอายุควรปรับตัวให้เข้ากับสมาชิกทุกคนในครอบครัวได้ดี  ไม่ปล่อยให้มีช่องว่างระหว่างวัย

ด้วยหลักธรรม 3 อย่าง รวม 12 ประการนี้ หากยึดถือเป็นหลักธรรมประจำใจได้ ก็จะสามารถใช้ชีวิตวัยสูงอายุได้อย่างมีความสุขในทุกวันแน่นอนค่ะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจและอารมณ์ในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ แม้จะเป็นวัยที่ได้รับการเคารพยกย่องจากลูกหลาน และเป็นวัยที่มีเวลาอยู่ก

เปตอง กีฬาเสริมสุขภาพให้ผู้สูงวัย

การออกกำลังกายในผู้สูงวัย เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดี สร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยให้กร

การดูแลผู้สูงอายุเมื่อมีอาการท้องผูก ท้องอืด และท้องเสีย

ผู้สูงอายุ มักมีระบบร่างกายที่ทำงานได้ไม่ดีนัก เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการเจ็บป่วย และเก

คำแนะนำในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีประโยชน์ต่อทุกช่วงวัย แต่การออกกำลังกาย

ภาวะความชรา และอาการที่พบ เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงสูงวัย

เมื่อคนเราอายุ 30 ปีขึ้นไป ร่างกายจะเสื่อมถอยลง การทำงานต่างๆ ในร่างกายที่เคยทำงานได้

การทำงานของระบบการหายใจ ในช่วงวัยของผู้สูงอายุ

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงวัยสูงอายุ เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ และหมั่นจดบันทึ