ป้องกันอาหารเป็นพิษในผู้สูงอายุ


แม้ว่าอาการอาหารเป็นพิษ จะเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ในวัยสูงอายุ ซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำกว่าในวัยอื่นนั้น ก็มีโอกาสที่จะเกิดอาหารเป็นพิษได้ง่ายกว่าในวัยอื่น อาหารเป็นพิษ เกิดจากการกินอาหาร หรือเครื่องดื่ม ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หรือสารพิษจากเชื้อโรค และสารต่างๆเมื่อเชื้อโรค หรือสารพิษเข้าสู่กระเพาะอาหารและลำไส้ จะมีกลไกทำให้เกิดอาการได้ทั้งแบบที่รุนแรง และไม่รุนแรง

ไม่ว่าจะเป็นแบบรุนแรง หรือไม่รุนแรงก็ตาม ก็ส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วย ขาดน้ำ ปวดท้อง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นท้องเสียเป็นเลือด ปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ไข้สูง ปวดเมื่อยตัว และปวดข้อหากเป็นเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มบาดทะยัก อาจส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเป็นอัมพาต รวมถึงหยุดหายใจ และเสียชีวิตได้ ยิ่งในเมืองที่มีอากาศร้อนเป็นส่วนใหญ่อย่างบ้านเรา ก็ทำให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นอาหารเป็นพิษได้มากยิ่งขึ้น

นอกจากเรื่องของอากาศที่ร้อน ซึ่งทำให้เชื้อโรคเติบโตได้ดีแล้ว ยังต้องระมัดระวังการเลือกทานอาหารอีกด้วย ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงไม่สุก และไม่สะอาด

การดูแลตนเองของผู้สูงอายุ เมื่ออาหารเป็นพิษ
เมื่อเป็นโรคอาหารเป็นพิษ ควรปฏิบัติตนดังนี้
- หากเกิดอาการรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ทันที
- จิบน้ำ อมน้ำแข็งสะอาด หรือน้ำเกลือแร่บ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
- หากปวดท้องและคลื่นไส้อาเจียน ไม่ควรทานอาหารหรือดื่มน้ำเข้าไป เพราะอาการจะรุนแรงขึ้น
- งดทานเห็ดและอาหารทะเลไปก่อน เพราะอาจเกิดสารพิษที่รุนแรงได้
- ไม่ควรทานยาหยุดถ่ายท้อง เพราะการท้องเสียจะช่วยขับเชื้อและสารพิษออกจากร่างกาย
- เมื่ออาการต่างๆ บรรเทาลง ควรเริ่มทานอาหารน้ำ รสจืด ครั้งละน้อยๆ ก่อน และคอยสังเกตอาการ
- ดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละอย่างน้อย 8-10 แก้ว หากแพทย์ไม่ได้สั่งจำกัดน้ำ
- พักผ่อนให้มากๆ และรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน

อาการอาหารเป็นพิษในผู้สูงอายุ โดยทั่วไปนั้น จะไม่รุนแรงมาก และหายได้ภายใน 2-3 วัน แต่หากได้รับเชื้อที่รุนแรง ประกอบกับมีภูมิคุ้มกันต่ำ ก็อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น ควรดูแลสุขอนามัยพื้นฐาน ทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุก และดูแลสุขภาพให้แข็งแรงด้วยนะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารเป็นพิษในผู้สูงอายุ อาจเสี่ยงอันตรายได้

อาหารเป็นพิษ เกิดขึ้นได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย เกิดจากการกินอาหาร หรือเ

อาหารที่ดี เสริมสร้างสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ

อาหาร เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต แต่ก็อาจเป็นดาบสองคมให้กับเราได้เช่นกัน หากว่า

ความหวาน ตัวการสร้างโรคในผู้สูงอายุ

โรคภัย ใครๆ ก็กล่าวว่าเป็นของคู่กันกับผู้สูงอายุ เพราะร่างกายที่อ่อนแอลง เสื่อมสภาพ

7 สารอาหารสำคัญ สำหรับคนสูงวัย

สำหรับผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ต้องใส่ใจในเรื่องโภชนาการเป็นสำคัญ นอกจากจะทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกา

โรคซึมเศร้า ภัยเงียบที่ทำลายสุขภาพจิต

สังคมที่วุ่นวายและเสื่อมโทรมในปัจจุบัน ส่งผลให้สุขภาพจิตของคนในสังคมย่ำแย่ตามไปด้วย โดยเฉพาะในผู้สูง

เสียสุขภาพจิต เสียคุณภาพชีวิต เพราะเป็นลำไส้อุดตัน

ลำไส้อุดตัน คือภาวะที่สิ่งต่างๆ ในลำไส้ ทั้งน้ำ อาหาร น้ำย่อย และของเหลวต่างๆ ไม