หัวใจขาดเลือด ภัยใกล้ตัวของผู้สูงอายุ


โรคที่เมื่ออาการกำเริบแล้วอาจส่งผลถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต เชื่อว่าหลายๆ คนคงนึกถึงโรคหัวใจเป็นอันดับแรกๆ โรคหัวใจ มีหลายโรคแยกย่อยออกไปได้อีก แต่โรคที่มีความเสี่ยงอันตรายมากที่สุด คือโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งผู้สูงอายุหลายท่านก็เผชิญกับโรคนี้อยู่

โรคหัวใจขาดเลือด พบได้ในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งคนในเมืองมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าผู้ที่ยากจน มีอาชีพใช้แรงงานและชาวชนบทโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากการตีบและแข็งของหลอดเลือดแดงที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เจ็บหน้าอกเป็นครั้งคราว

อาการของโรคหัวใจขาดเลือด มักพบว่ามีอาการต่างๆ ดังนี้
- หากเป็นโรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ จะมีอาการปวดคล้ายมีอะไรกดทับ หรือจุกแน่นกลางหน้าอกหรือยอดอก ซึ่งอาจเจ็บร้าวมาที่ไหล่ซ้าย ถึงคอ ขากรรไกร หลัง หรือแขนขวา
- เมื่อถูกอากาศเย็นๆ ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางมักเป็นไข้ หรือใจเต้นเร็ว ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการของโรคนี้ได้
- อาการเจ็บหน้าอกมักเป็นนาน 2-3 นาที และอาจมีอาการใจสั่น เหนื่อยหอบ เวียนศีรษะ
- จุกแน่นใต้ลิ้นปี่ คล้ายอาหารไม่ย่อย หรือท้องเฟ้อ มักมีอาการเมื่อต้องออกแรงมากๆ หรืออารมณ์โกรธ ตื่นเต้น เสียใจ ตกใจ เครียด เป็นต้น
- หากเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย จะเจ็บหน้าอกในลักษณะเดียวกัน แต่จะเจ็บและรุนแรงกว่า และทุเลาได้ยาก อาจเหนื่อยหอบ อ่อนเพลีย หน้ามืด วิงเวียน และเกิดสภาวะช็อกจนหมดสติได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด โดยมากมักเกิดจากความเครียด ขาดการพักผ่อน ทำงานมาก ใช้สมองมากโดยไม่พักผ่อน ภาวะจิตใจที่ขุ่นมัว ดังนั้น การจะป้องกัน และดูแลตนเองให้ห่างไกลโรคหัวใจขาดเลือด หรือป้องกันโรคกำเริบได้นั้น ควรปฏิบัติดังนี้
- งดทำงานหนักหรือต้องใช้แรงมากกว่าปกติ
- เลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด
- ควบคุมอาหาร และน้ำหนัก
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หักโหม
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้อาการกำเริบ เช่น ทำงานหนัก กินอิ่มเกินไป ท้องผูก ดื่มชา กาแฟเป็นประจำ สิ่งที่ทำให้ตื่นเต้นหรือกระทบกระเทือนจิตใจ
- ทำจิตใจให้เบิกบาน และแจ่มใสอยู่ตลอดเวลา

โรคหัวใจขาดเลือด เมื่ออาการกำเริบอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น จึงควรมีแพทย์ประจำ และพกยาไนโตรกลีเซอรีน หรือไอโซซอร์ไบด์ชนิดอมใต้ลิ้นติดตัวไว้เสมอ


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคข้อรูมาตอยด์ฝันร้ายในวัยสูงอายุ

โรคข้อรูมาตอยด์ แม้จะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็พบได้ในผู้ที่มีญาติสายตรงเ

หน้ามืด วิงเวียน เป็นลม อาการของผู้สูงอายุ

อาการหน้ามืด วิงเวียน เกิดขึ้นได้เมื่อผู้สูงอายุปรับเปลี่ยน

ตรวจสุขภาพประจำปี ป้องกันโรค เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี

การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของคนเรา หลายคนมักมองข้ามว่า หากเราดูแลตนเองเป็นอย่

การดูแลตนเองเมื่ออยู่ในสภาวะสูญเสีย

ไม่ว่าใคร และในช่วงวัยใดก็ตาม ก็ย่อมต้องเผชิญกับความสูญเสียด้วยกันทั้งสิ้น แต่สำหร

เบาหวานขึ้นตา ป้องกันและรักษาอย่างไร

โรคเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความผิดปกติได้กับเนื้อเยื่อแล

ผู้สูงอายุ ช่วงวัยที่เสี่ยงโรคอ้วน

เรามักพบเห็นว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ สภาพทางกายภาพจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีผมหงอก ฟันแล