เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นทุกวัน กระดูก ย่อมผุกร่อน และบางลงไปตามกาลเวลา ในวัยสูงอายุ จึงไม่แปลกที่จะพบว่ากระดูกพรุนได้
ปัญหากระดูกพรุน ส่งผลต่อสรีระของผู้สูงอายุ และสุขภาพร่างกาย เพราะอาจทำให้หลังค่อม กระดูกเปราะหักง่าย และเจ็บปวดตามข้อกระดูกต่างๆ
กฎ 5 ข้อ ในการดูแลตนเอง และป้องกันกระดูกพรุน มีดังนี้
หลีกเลี่ยงยาบางประเภท
ยาบางประเภท นำไปสู่การลดความหนาแน่นของกระดูก เช่น คอร์ติโซนยาแก้โรคหืดยาเฮปาริน การรักษาโดยการฉายรังสี หรือการให้สารเคมี เป็นต้น
เพิ่มแคลเซียมให้ร่างกาย
ด้วยการหมั่นทานนมเสริมแคลเซียมนมพร่องมันเนย ทานปลาตัวเล็กตัวน้อย ปลากระป๋อง ผลไม้ เป็นต้น ซึ่งการทานแคลเซียมนี้ ควรเสริมสร้างมาตั้งแต่เด็ก และตลอดชีวิตเพื่อกระดูกที่แข็งแรงนอกจากนี้ ยังควรได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ เพราะในวิตามินดีมีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ
หมั่นออกกำลังกาย
การออกกำลังกาย ควรออกสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่มีแสงแดดอ่อนๆ การไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย เมื่อวัยชราโรคกระดูดพรุนเกิดขึ้นรุนแรง ถ้าขาดการออกกำลังกาย และการสูญเสียความแข็งแรงของกระดูก มักเกิดขึ้นในช่วงที่ไม่ได้เคลื่อนไหว เช่น ในขณะนั่งรถเข็น หรือนอนพักฟื้น ดังนั้น เมื่อมีอาการเจ็บป่วย จึงควรรีบทำกายภาพบำบัด หรือเคลื่อนไหวร่างกายให้ได้มากที่สุด
งดความเสื่อม
งดการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม สิ่งเหล่านี้จะลดประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย ทำให้กระดูกเสื่อมและหดลงเร็ว
ดูแลตนเองเป็นสองเท่า
เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ควรดูแลตนเองเป็นสองเท่า แม้ว่ากระดูกพรุน อาจเกิดได้จากกรรมพันธุ์ โดยมีโอกาสเป็นสูงถึง 80% และในวัยหมดประจำเดือน ประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายจะลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้นแต่การรับประทานอาหารที่ดี และหมั่นออกกำลังกาย ก็ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้มาก
หากอยากกระดูกแข็งแรง ไม่กระดูกพรุน กระดูกบางเร็ว ก็อย่าลืมดูแลตนเองเป็นอย่างดีนะคะ จะได้มีสุขภาพดี อายุยืนยาว
อาการสมองเสื่อม อาจพบได้ในผู้สูงอายุที่มีอายุมากแล้ว หรืออาจพบในผู้สูงอายุทั่วไปไ
อายุที่มากขึ้น อะไรๆ ก็ดูจะแย่ไปเสียหมด ทั้งสภาพร่างกาย ความหย่อนยาน สุขภาพ รวมถึงผมก็ร่วงจนผมบางใกล้ล้
ผู้สูงอายุ มักมีอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงรู้สึกไม่ดี เมื่อมีอาการเจ็บป่วย การนวดผ่อ
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นทุกวัน กระดูก ย่อมผุกร่อน และบางลงไปตามกาลเวลา ในวัยสูงอายุ จึงไม
เชื่อว่าทุกคนคงเคยผ่านการมีอาการปวดศีรษะมาก่อน เพราะอาการปวดศีรษะ มั