การเป็นผู้สูงอายุ จะได้รับสิทธิมากมาย เช่น สิทธิได้รับการบริการทางการแพทย์ สิทธิได้รับบริการด้านการประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม สิทธิในการพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม สิทธิได้รับการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรง สิทธิได้รับการช่วยเหลือด้านค่าโดยสารยานพาหนะ สิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุในกองทุนชราภาพ และสิทธิต่างๆ อีกมากมาย ที่มีมาเพื่อผู้สูงอายุ รวมถึงสิทธิเบี้ยยังชีพ
สิทธิเบี้ยยังชีพเพื่อคนชรา
สิทธิการได้รับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ เป็นการสงเคราะห์แบบให้เปล่าแก่ผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน หรือถูกทอดทิ้ง ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ ซึ่งอยู่ภายใต้การรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะให้ตามความจำเป็นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
เกณฑ์การได้รับเบี้ยยังชีพ
ผู้สูงอายุจะได้รับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพภายใต้หลักเกณฑ์อย่างน้อย 3 ประการ ดังนี้
1. ต้องเป็นการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพตามความจำเป็น หมายถึง การให้การสงเคราะห์ต้องมีการทดสอบและวินิจฉัยก่อนว่า ผู้สูงอายุมีคุณสมบัติครบถ้วน และมีความจำเป็นหรือเดือดร้อนเพียงใด
2. ต้องให้การสงเคราะห์อย่างทั่วถึง หมายถึง การให้การสงเคราะห์นั้นต้องครอบคลุมผู้สูงอายุในพื้นที่ต่างๆในเขตท้องที่รับผิดชอบ
3. ต้องให้การสงเคราะห์อย่างเป็นธรรม หมายถึง การไม่เลือกปฏิบัติกับผู้สูงอายุคนใดคนหนึ่ง หรือให้ความเป็นธรรมกับผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามระเบียบอย่างเท่าเทียม
ในปัจจุบันนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติโดยใช้งบประมาณของตนเอง หรือขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรการบริหารส่วนจังหวัดตามแต่ฐานะของแต่ละแห่ง โดยมีการจ่ายตามอัตราที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด คือคนละ 300 บาทต่อเดือนแต่ไม่เกิน 600 บาท ตามแต่ฐานะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง ซึ่งปัจจุบันมีหลายแห่งที่จ่ายในอัตรา 500 บาทต่อเดือน
เบี้ยยังชีพ เป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่มอบให้แก่ผู้สูงอายุในทุกเดือน ซึ่งแม้จะไม่ใช่จำนวนเงินที่มาก แต่ก็เป็นตัวช่วยให้ผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ และมีฐานะยากจน ให้สามารถมีคุณภาพชีวิตในสังคมที่ดีขึ้นมาได้บ้าง ซึ่งหากจะมองถึงสิทธิหลายอย่างที่ผู้สูงอายุได้รับ ก็ถือได้ว่า เป็นกลุ่มที่ได้รับความเอาใจใส่ในสังคมเป็นอย่างมาก
ผู้สูงวัย ไม่สามารุเคี้ยวอาหารได้ดีเหมือนปกติ รวมไปถึงประสาทที่เกี่ยวกับการ
การเป็นผู้สูงอายุ จะได้รับสิทธิมากมาย เช่น สิทธิได้รับการบริการทางการแพทย์ สิทธิได้รับบริการด้านการปร
ผู้สูงอายุส่วนมาก มักพบว่าตนเองมีโรคประจำตัว ซึ่งในปัจจุบันผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคป
ผู้สูงอายุส่วนมาก มักมีโรคประจำตัว และต้องทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ดังนั้น การทาน