เมื่อผู้สูงอายุต้องเผชิญปัญหาท้องผูก


การขับถ่าย เป็นสุขอนามัยพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน และมีความจำเป็นในการดำรงชีวิต มนุษย์เราจึงควรขับถ่ายทุกวัน เพื่อสุขภาพที่ดี

ในช่วงวัยสูงอายุนั้น มักมีปัญหาในการขับถ่าย เพราะเกิดอาการท้องผูกบ่อยๆ เนื่องจากการทำงานของระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายที่ทำงานได้ด้อยลง

เมื่อท้องผูกบ่อยครั้ง จึงทำให้ผู้สูงอายุไม่สดชื่น รู้สึกแน่นท้อง อาจมีอาการปวดท้อง หรือเกิดความทรมานจากท้องผูกร่วมด้วย ส่งผลต่อสุขภาพ และจิตใจเป็นอย่างมาก

ระบบขับถ่ายของผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจ เนื่องจากเป็นระบบที่เมื่อทำงานผิดพลาดแล้ว เห็นผลได้อย่างชัดเจน และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จึงควรดูแลตนเองในชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันปัญหาท้องผูก

การดูแลตนเองที่ช่วยป้องกันอาการท้องผูก มีดังนี้
1. มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เครียด ไม่กังวล และไม่ยึดติดกับสิ่งใดมาก
2.ฝึกขับถ่ายอย่างเป็นเวลา และให้เวลาในการขับถ่ายอย่างเต็มที่
3.ทานอาหารที่มีใยอาหารสูงในทุกมื้อ
4. พยายามเคี้ยวอาหารอย่างช้าๆ
5. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
6.พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่นั่งหรือนอนเป็นเวลานานๆ ควรหมั่นลุกเดิน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว และอย่าลืมออกกำลังกาย
7.ไม่กลั้นอุจจาระจนเป็นนิสัย เมื่อรู้สึกปวด ควรรีบไปเข้าห้องน้ำทันที
8.หากมีอาการท้องผูก ควรไปปรึกษาแพทย์ และไม่ควรซื้อยาทานเอง หากจำเป็นต้องซื้อยาทานเอง ควรขอคำปรึกษาจากเภสัชกรก่อนซื้อยาเสมอ

ระบบขับถ่าย เป็นระบบที่มีความสำคัญต่อร่างกาย และส่งผลต่อคุณภาพชีวิต จึงควรดูแลให้ทำงานได้อย่างดีอยู่เสมอ เพราะหากผิดปกติไป ย่อมส่งผลต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตได้ หากขับถ่ายได้เป็นปกติ ก็ย่อมจะแข็งแรง และมีอายุที่ยืนยาวแน่นอน


บทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าสู่วัยสูงอายุเมื่อใด ต้องระวังภัยจาก 5 โรคอันตราย

ถ้าจะพูดกันถึงโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ เราคงพอจะนึกออกว่ามีโรคใดบ้าง แต่หากจะพูดถึ

ดื่ม ดื่ม ดื่ม เรามาดื่มนมกันเถอะ

เมื่อถึงวัยที่อายุเพิ่มมากขึ้น การดูแลตนเองเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก นอกจากการใส่ใจในเรื่องของโภชนาก

ความหวาน ตัวการสร้างโรคในผู้สูงอายุ

โรคภัย ใครๆ ก็กล่าวว่าเป็นของคู่กันกับผู้สูงอายุ เพราะร่างกายที่อ่อนแอลง เสื่อมสภาพ

6 ข้อปฏิบัติ ป้องกันและแก้ไขโรคกระดูกพรุน

กระดูกพรุน เกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เนื่องจากมวลกระดูกลดน้อยลง และสามารถเกิ

อาการเพ้อ และโรคสมองเสื่อม

บุตรหลานที่มีผู้สูงอายุในบ้าน มักเคยพบเห็นอาการแปลกๆ ของผู้สูงอายุ ท

กฎ 5 ข้อ ป้องกันกระดูกพรุนในผู้สูงวัย

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นทุกวัน กระดูก ย่อมผุกร่อน และบางลงไปตามกาลเวลา ในวัยสูงอายุ จึงไม