ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีปัญหาในการกิน การย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคตามมาได้ ระบบทางเดินอาหาร มีผลต่อการย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย เมื่อถึงวัยสูงอายุ ระบบทางเดินอาหารจะทำงานได้ลดลง ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นกับร่างกายของผู้สูงอายุ คือ
ช่องปากและฟัน
เยื่อบุช่องปากของผู้สูงอายุจะบางลง แต่ยังสามารถแบ่งตัวเป็นปกติ น้ำลายจากต่อมน้ำลายลดลง เนื้อฟันในผู้สูงอายุจะลดความทึบลง เหงือกร่นลงจากคอฟัน เนื่องจากความเสื่อมกระดูกขากรรไกรหดลงเรื่อย ๆ ทำให้ฟันเริ่มโยกคลอนได้ง่าย และยิ่งเมื่อมีหินปูนมาเกาะเกิดการติดเชื้อซ้ำเติม
หลอดอาหาร
พบว่าการไหลผ่านของอาหารจากลำคอสู่กระเพาะอาหารช้าลง
กระเพาะอาหาร
น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารลดความเป็นกรดลง
ลำไส้
ลำไส้มีการเคลื่อนตัวช้าลง ทำให้ท้องผูกได้ง่าย ความสามารถในการดูดซึมอาหารไม่ลดลง โดยเฉพาะการดูดซึมไขมันไม่แตกต่างไปจากคนวัยหนุ่มสาว และการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนลดลงเล็กน้อย
ตับ
น้ำหนักของตับจะลดลงถึง 25 % จากอายุ 20 ปี ถึง 70 ปี เนื่องจากเซลล์ตับลดจำนวนลง ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนผ่านตับลดได้ถึง 35 % จากอายุ 20 ปี ถึง 90 ปี ทำให้การกำจัดยาที่เข้าสู่ร่างกายช้าลงผู้สูงอายุจึงเกิดพิษจากยาและแอลกอฮอล์ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป
การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินอาหารนี้ สามารถทำได้โดยแบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ แต่บ่อยขึ้น และปรุงอาหารให้มีความอ่อนนุ่ม เพื่อให้เคี้ยวได้ง่าย ไม่เจ็บเหงือก และช่วยในการย่อยอาหารให้ดีขึ้น อีกทั้งยังควรทานอาหารที่มีกากใยมาก ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยในการขับถ่าย รวมถึงทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงรสจัด รสหวาน เค็ม และการทานแป้งและไขมันในปริมาณสูง
โรคกระดูกและข้อที่มักพบในผู้สูงอายุ คือ โรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก
เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ โรคภัยต่างๆ ก็มักจะเข้ามารุมเร้า และเกิดอาการเจ็บป่
อาการหลงๆ ลืมๆ นี้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการไม่เอาใจใส่ การรีบเร่ง ความกังวลในใจ การทานยาบางชนิด เป็นต้น
ในวัยสูงอายุ เป็นที่ทราบกันดีว่า นอกจากโรคภัยต่างๆ ที่เข้ามาถามหาแล้
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น มักมีโรคภัยต่างๆ ถามหาอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะทำ
ใครๆ ก็พูดว่า “อาการนอนไม่หลับ เป็นโรคของคนแก่” นั่นก็หมายความว่า เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ใครๆ ก็ส