อาหาร 5 หมู่สำหรับผู้สูงวัย



ในวัยสูงอายุ เรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้สูงอายุควรดูแลตนเองให้มีสุขภาพทั้งกาย และใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้มีความสุขในบั้นปลาย และมีอายุที่ยืนยาว หากอยากมีสุขภาพแข็งแรง นอกจากการออกกำลังกายแล้ว คงหนีไม่พ้นเรื่องของอาหารการกิน หรือการมีโภชนาการที่ดี เหมาะสมกับช่วงวัย

ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
ไม่ว่าจะช่วงอายุใดของชีวิตก็ตาม การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ย่อมมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย แต่จะมากจะน้อยในสัดส่วนเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับช่วงวัยที่แตกต่างกันไป การรับประทานอาหารที่ดี ถูกหลักโภชนาการจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีขึ้น ชะลอความเสื่อมของร่างกาย และป้องกันโรคได้อย่างดี

1. เนื้อสัตว์ นม ไข่ และถั่ว ช่วยในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ ช่วยให้มีภูมิต้านทานโรค และร่างกายแข็งแรง ผู้สูงอายุควรรับประทานเนื้อปลา หากรับประทานเนื้อสัตว์อื่น ควรต้มให้เปื่อย หรือสับให้ละเอียด ควรรับประทานไข่สัปดาห์ละไม่เกิน 3 ฟอง รับประทานไข่ขาวได้ไม่จำกัด ดื่มนมวันละ 1 แก้ว

2. แป้งและน้ำตาล เป็นหมู่ที่ผู้สูงอายุควรได้รับแต่น้อย เนื่องจากการใช้พลังงานในแต่ละวันลดลง ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้ไขมันสะสม ทำให้อ้วน และน้ำตาลในเลือดสูง หมู่นี้ ได้แก่ ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน

3. ไขมัน ควรเน้นไขมันดี ซึ่งมีอยู่ในปลาทะเล เป็นต้น ช่วยดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน และไม่ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

4. ผัก ผักมีวิตามินและเกลือแร่หลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินอี เบตาแคโรทีน กรดโฟลิก เหล็ก แคลเซียม  โปแตสเซียม ใยอาหาร และมีสารไฟโตเคมิคอล ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด และโรคมะเร็ง ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ท้องไม่ผูก และไม่อ้วน

5. ผลไม้ เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน น้อยหน่า เพราะจะทำให้อ้วนและระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ นอกจากนี้ ผลไม้ส่วนใหญ่มีโปแตสเซียมสูง ผู้สูงอายุที่มีไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายต้องรับประทานน้อยลง หรือควรงดผลไม้ทุกชนิด

หากทานอาหารได้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่พอเหมาะต่อความต้องการของร่างกาย ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ และทานสารอาหารที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ เช่น แคลเซียม ก็จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคที่จะเกิดขึ้นได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

หัวใจขาดเลือด ภัยใกล้ตัวของผู้สูงอายุ

โรคที่เมื่ออาการกำเริบแล้วอาจส่งผลถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต เชื่อว่าหลายๆ คนคงนึกถึ

อาการเพ้อ และโรคสมองเสื่อม

บุตรหลานที่มีผู้สูงอายุในบ้าน มักเคยพบเห็นอาการแปลกๆ ของผู้สูงอายุ ท

การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ด้านหัวใจและหลอดเลือด

การเปลี่ยนแปลงในช่วงสูงวัย เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ด้อยลง ทั้งการเปลี่ยนแปลงภายน

ผู้สูงอายุ ทำอย่างไร เมื่อนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ เกิดขึ้นอาการทางสมอง ซึ่งญาติไม่ควรปล่อย

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเกาต์

โรคเกาต์ เป็นโรคอันดับต้นๆ ที่พบได้ในผู้สูงอายุ เกิดจากการใช้และขับถ่ายสารพวกพิวรี

อาการนอนไม่หลับ ก็บ่งบอกโรคได้นะ

ใครๆ ก็พูดว่า “อาการนอนไม่หลับ เป็นโรคของคนแก่” นั่นก็หมายความว่า เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ใครๆ ก็ส