บุตรหลาน นับเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพแข็งแรง สุขภาพจิตดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ แต่บางครั้ง ในการดูแลผู้สูงอายุกลับไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้สูงอายุมักมีอารมณ์แปรปรวน และบางครั้งก็ยากเกินเข้าใจ
การจะดูแลผู้สูงอายุได้ เราจึงต้องมานั่งทำความเข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากอะไร และความนึกคิดของผู้สูงอายุเป็นอย่างไรบ้าง
สิ่งที่ผู้สูงอายุมักนึกอยู่ในใจเสมอๆ จึงแสดงออกเป็นพฤติกรรมต่างๆ มีดังนี้
จู้จี้ขี้บ่น เป็นลักษณะที่เราสัมผัสได้เสมอจากผู้สูงอายุ บ้างก็เกิดจากการต้องการการเอาใจใส่ หรือเกิดจากความต้องการตักเตือนว่ากล่าวและชี้แนะลูกหลาน ซึ่งลูกหลานมักรำคาญและไม่เข้าใจในความหวังดี
สิ้นหวัง เมื่อถึงวัยที่ร่างกายเสื่อมโทรม ทำอะไรไม่สะดวก บางครั้งช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ไม่มีงานการทำ อาศัยการดูแลจากผู้อื่น จึงรู้สึกสิ้นหวัง และรู้สึกว่าตนเองไม่มีประโยชน์แล้ว
ความตาย ผู้สูงอายุ เป็นวัยใกล้ฝั่ง ที่รู้ดีว่าเวลาของตนใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว จึงไม่แปลกที่ท่านจะนึกถึงความตายเป็นประจำ การพยายามที่จะดิ้นรน ทั้งที่รู้ว่าไม่สามารถเอาชนะได้ อาจเกิดเป็นความเครียดได้
อดีต อดีตที่เคยภูมิใจ อดีตที่สวยหรู ความสำเร็จ ความมั่งคั่ง ความรัก ความสดใสในช่วงแรกแย้ม ทำให้ผู้สูงอายุนึกถึงบ่อยครั้ง และชอบที่จะเล่าถึงสิ่งเหล่านั้นซ้ำไปซ้ำมา ในบางรายเล่าไปอาจร้องไห้ เพราะนึกเทียบกับปัจจุบันที่ไม่มีอะไรน่านึกถึงอีกแล้ว
อยากระบาย มาจากการที่คนแก่มักเก็บทุกเรื่องมาคิด และเก็บเป็นความทุกข์ไว้ภายในใจ รู้สึกไม่สบายใจกับทุกสิ่ง และคิดกังวลไปไกล ผู้สูงอายุจึงต้องการปรับทุกข์กับใครสักคน หรือได้บอกเล่าความหดหู่ใจ ความนึกคิดในตอนนั้น
มีความฝัน ผู้สูงอายุมีความฝันต่างๆ มากกว่าวัยหนุ่มสาวด้วยซ้ำ เนื่องจากมีเวลาว่างมาก รู้จักเวลาที่เหลืออยู่ของตน และรู้ว่าตนต้องตาย จึงมักฝันถึงสิ่งต่างๆ ที่อยากเห็น อยากได้ หรืออยากให้เกิดขึ้น ก่อนที่ตนเองจะจากโลกนี้ไป
ดื้อรั้น ถือดี ด้วยความมั่นใจว่าตนรู้มากกว่า มีประสบการณ์มากกว่า จึงไม่ฟังความเห็นจากใครและหยิ่งในศักดิ์ศรีของตน
ต้องการเพื่อน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนฝูง ญาติมิตร หรือคนในครอบครัวใกล้ชิด ก็ถือเป็นเพื่อนที่ดี ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุได้คลายเหงา ได้พูดคุย และมีความสุข ผู้สูงอายุจึงชอบเวลาที่มีลูกหลานมาหาเป็นพิเศษ
จิตใจที่เข้มแข็ง ช่วยให้สุขภาพร่างกายดีตามไปด้วยได้ ดังนั้น การเข้าใจความนึกคิด และทำให้ท่านเกิดความสุข รู้สึกว่าตนเองเป็นคนสำคัญในครอบครัว ย่อมเป็นการดูแลผู้สูงอายุที่ดีที่สุด
หากผู้สูงอายุที่บ้านของท่าน มีปัญหาเรื่องการฟัง คือฟังไม่ค่อยได
เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ คุณอาจมีความกังวลหลายอย่างเกิดขึ้นในจิตใจ เนื่องจากมีความเปลี่ยนแปลงหลาย
ถ้าผู้สูงอายุในบ้านของคุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีอารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่าย หรือมีนิสัยที่เปลี่ยนไป เช่
เมื่อผู้หญิงเราก้าวเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือที่เรามักเรียกว่า “วัยทอง” นั้น ร
ผู้สูงอายุ มักคิดว่าตนเองเป็นบุคคลที่ด้อยค่า เนื่องจากร่างกายเสื่อมถอยลง เหี่ยวย่น ไม
เมื่ออายุมากขึ้น สิ่งที่เปลี่ยนไปตามช่วงวัยมักเปลี่ยนไปในทางที่ด้อยลง ทั้งสุขภาพ ร