ความเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ



เป็นที่รู้กันว่า วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงได้ง่ายที่สุด ทั้งรูปร่าง กายภาพภายนอก และสุขภาพร่างกาย

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นหลายอย่าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น จะมีอะไรบ้าง และมีผลต่ออารมณ์หรือร่างกายอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ

ความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
- รูปร่างเปลี่ยนไป อาจตัวเตี้ยลงเนื่องจากกระดูกบางลง มีริ้วรอยแห่งวัยมากมาย ตาเริ่มฝ้าฟาง หูได้ยินไม่ชัดเจน สีผมเปลี่ยน
- เดินได้ช้าลง เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก ลุกนั่งลำบากไม่คล่องแคล่ว
- สุขภาพย่ำแย่ลง เนื่องจากร่างกายเสื่อมสภาพ ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย และอาจเกิดโรคในคนชรา เช่น เบาหวาน ไต ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

ความเปลี่ยนแปลงด้านความคิด
- เริ่มคิดซ้ำซาก คิดไม่ตก หวาดระแวง คิดเรื่องอดีต และอนาคต คิดเสียดาย หมกมุ่นอยู่กับความคิดเรื่องเดิมๆ อยู่บ่อยๆ
- คิดมาก น้อยใจ รู้สึกว่าตนเองด้อยค่า ต้องพึ่งพาการดูแลจากคนอื่น มีความคิดในแง่ลบมากขึ้นเมื่อคุณเป็นผู้สูงอายุ จะเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิต และเก็บงำความทุกข์มากกว่าความสุข

ความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์
การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ที่พบได้บ่อย คือการรู้สึกเสียความมั่นคง ไม่ได้รับการยกย่อง จิตใจหดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง กลัวความตาย กลัวความเจ็บป่วย กลัวถูกทอดทิ้ง ชอบเก็บตัว บางรายกลายเป็นคนฉุนเฉียวโมโหง่าย จนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้

ความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม
- เอาแต่ใจตนเอง จู้จี้ ขี้บ่น บางรายมีปัญหาทางเพศในคู่สมรส ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรอับอาย และต้องปรึกษาแพทย์เพื่อแก้ไขต่อไป
- มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด หงุดหงิดง่าย ชอบน้อยใจ และอ่อนไหวกับคำพูดและการกระทำของลูกหลาน
- ชอบย้ำถามซ้ำๆ โดยที่จำไม่ได้ว่าพูดไปแล้ว หรือถามไปแล้วหรือไม่ ทำเรื่องเดิมๆ โดยที่คิดว่ายังไม่ได้ทำ

สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ ด้วยความรักความเอาใจใส่จากคนในครอบครัว ซึ่งควรดูแลอย่างใกล้ชิด และทำให้ผู้สูงอายุเห็นว่าท่าน มีคุณค่าต่อครอบครัวมากเพียงใด


บทความที่เกี่ยวข้อง

6 ข้อ ในการดูแลโภชนาการให้กับญาติผู้ใหญ่ที่คุณรัก

เรื่องของอาหารการกิน เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากกับผู้คนทุกเพศทุกวัยอยู่แล้ว ยิ่งในวัยสูงอายุ เรื่องของโภชนาการ ยิ่งมีความสำคัญมากๆ ต่อสุขภาพร่างกาย

การสร้างคุณค่าในตัวเองสำหรับผู้สูงวัย

วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า และขาดความภาคภูมิใจในตัวเองได้ง่ายม

ออกกำลังกายอย่างไร ให้หัวใจแข็งแรง

การออกกำลังกาย เป็นการดูแลสุขภาพพื้นฐานของคนเรา ที่ควรทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เป็

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

ในวัยสูงอายุ นอกจากร่างกายที่เสื่อมโทรมไปตามสภาพ จะส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอลง เจ็บป่ว

การขาดฮอร์โมน การทดแทนฮอร์โมน และการเตรียมเข้าสู่วัยทอง

ในวัยสูงอายุ ตั้งแต่อายุเริ่มเข้าเลข 4 โดยเฉพาะเมื่ออายุเกิน 45 ปี ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร

โรคเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยง การดูแล และการป้องกัน

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิต เกิดจากความผิดป