ปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ป้องกันข้อเข่าเสื่อม



ข้อเข่าเสื่อม พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ เรียกได้ว่า อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุทุกท่านก็ว่าได้ เนื่องจากข้อเข่า เป็นข้อที่เราใช้บ่อยมากที่สุด ใช้มาตั้งแต่เริ่มเดินได้ และใช้ไปตลอดชีวิต

ตั้งแต่เราเริ่มเดินได้ เมื่อเราทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเดิน วิ่ง เขย่ง กระโดด เต้น พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนมีแรงไปกระทำที่ข้อเข่าทั้งสิ้น ยิ่งหากมีน้ำหนักตัวมาก หรือเคยเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่าด้วยแล้ว ข้อเข่าของคุณก็จะเสื่อมก่อนวัยอันควร

อาการของโรค
- อาการข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการที่ผิวของกระดูกอ่อนหายไป ทำให้ผิวข้อส่วนนั้นกลายเป็นเนื้อกระดูก เวลาที่ข้อสัมผัสกัน จึงเกิดความเจ็บปวดมาก
- อาจเกิดข้ออักเสบ บวม มีน้ำในข้อ จนต้องไปเจาะเอาน้ำออก
- เวลางอเข่ามากๆ นั่งยองๆ พับเพียบ ขัดสมาธิ จะเจ็บปวดมากจนไม่สามารถงอเข่ามากๆ ได้

การป้องกันและการดูแลตนเอง
การป้องกันและการดูแลตนเองที่ดีที่สุด คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และเอาใจใส่สุขภาพ ดังต่อไปนี้
- หากเริ่มมีอาการ ควรปรึกษาแพทย์
- ระมัดระวังการใช้เข่า โดยเฉพาะการรับน้ำหนักตัวมากกว่าที่ควรจะเป็น
- ฝึกบริหารกล้ามเนื้อต้นขา โดยการเหยียดเข่าตรงแล้วยกขึ้น เพื่อให้กล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรง ช่วยลดแรงที่ลงไปที่กระดูกข้อเข่าได้
- ลดกิจกรรมการเคลื่อนไหวข้อเข่าลงบ้าง และไม่ใช้งานข้อเข่าหนักเกินไป
- หากมีการอักเสบของข้อ อาจต้องรับการรักษาและกายภาพบำบัดร่วมด้วย
- หากไม่หายควรรักษาด้วยการส่องกล้องเข้าไปในข้อเข่าเพื่อผ่าตัดทำให้ข้อเข่าเรียบขึ้น หรือตรงขึ้น
- ในบางรายที่ข้อเข่าโก่งหรือเสื่อมมากๆ อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จึงจะหายปวดได้

ในชีวิตของคนเรา จำเป็นต้องใช้งานข้อเข่าอยู่แทบจะตลอดเวลา ดังนั้น กระดูกข้อเข่าจึงเสื่อมได้ง่ายที่สุด สิ่งที่คุณทำได้ จึงคือการใช้งานข้อเข่าอย่างพอดี ไม่รับน้ำหนักมากจนเกินไป และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 โรคภัย ในหน้าหนาวสำหรับผู้สูงอายุ

ในหน้าหนาว หรือวันที่มีอากาศหนาว รวมถึงการนอน หรืออาศัยอยู่ในที่ที่มีความชื้นและอากา

อาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รักษาอย่างไร

ผู้สูงอายุหลายท่าน มักตรวจพบว่าตนเองมีโรคประจำตัว และมีอาการของโรคเกิดขึ้นอยู่บ่อย

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบในผู้สูงอายุที่ป้องกันได้

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบในผู้สูงอายุที่ป้องกันได้ โรคกระดูกพรุน

รู้จักระบบทางเดินอาหารในผู้สูงอายุ เพื่อการดูแลอย่างถูกต้อง

ระบบทางเดินอาหาร มีผลต่อการย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย เมื่อถึงวัยสูงอายุ ระบบทางเดินอาหารจะทำงานได้ลดลง

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ อาจเกิดจากโรคที่แฝงอยู่

การนอนหลับ เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด และช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น มีกำลังจะทำสิ่งต่างๆ ใ

3 โรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย ในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ มักมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคไต โรคปอด เป็นต้น ซึ่งโรคเหล