โรคเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งโรค ที่มักพบในผู้สูงอายุ เนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ปล่อยให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และการทานอาหารตามใจปาก โดยที่ไม่ควบคุมอาหารที่มีความมัน และน้ำตาลสูง
เมื่อถึงวัยสูงอายุ หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน คุณจึงควรไปตรวจหาโรคเบาหวาน และโรคต่างๆ ซึ่งเกณฑ์ในการวินิจฉัยเบาหวานของแพทย์ มีดังนี้
1. การวัดระดับกลูโคสในพลาสมาหลังการอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ซึ่งจะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 126มก.% จากการตรวจทั้งสองครั้ง
2. การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคสกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นเบาหวาน แต่ระดับพลาสม่ากลูโคสก่อนรับประทานอาหารไม่ถึง 126 มก.% ให้ตรวจโดยการดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เจาะเลือดก่อนดื่ม และ 2 ชั่วโมงหลังดื่ม และจะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับพลาสมากลูโคสที่ 2 ชั่วโมงมากกว่า 200 มก.%ขึ้นไป หากอยู่ระหว่า 140-199มก.%ถือว่าความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง หากต่ำกว่า 140 มก%ถือว่าปกติ
3. การสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมาโดยไม่กำหนดเวลาอดอาหาร ใช้ค่ามากกว่า 200 มก.%และมีอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมีความแม่นยำต่ำจึงไม่นิยมหาก หากพบว่าค่ามากกว่า 200 มก.%จะต้องนัดมาเจาะน้ำตาลก่อนอาหาร หรือทำการตรวจ การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส อาจจะตรวจในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเบาหวานมากจำเป็นต้องรีบให้การรักษา
4. การใช้ระดับโปรตีนกลัยโคไซเลต หากมีค่ามากกว่า 6.5 ให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
5. ในกรณีที่ค่า HbA1c>6.5 สองครั้งแต่ค่าน้ำตาลก่อนอาหารFBS<126 mg% หรือค่าน้ำตาล FBS>126 แต่ค่า HbA1c<6.5 ทั้งสองกรณีให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
นอกจากนี้ ยังมีวิธีการตรวจด้วยการตรวจหากลูโคสในปัสสาวะ แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะสามารถผิดพลาดได้ง่าย และในการตรวจหากลูโคสในกระแสเลือด แพทย์จะคำนึงถึงยาที่จะทำให้น้ำตาลสูงขึ้นด้วย
สรุป ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน มีผลการตรวจดังนี้
- มีน้ำตาลอดอาหารอยู่ระหว่าง 100-125 mg/dl
- มีค่าน้ำตาลหลังจากดื่มน้ำตาล 75 กรัม ที่ 2 ชม.อยู่ระหว่าง 140-199 mg/dl
- มีค่าน้ำตาลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5.7-6.4 %
แม้ว่าจะเป็นผลการวินิจฉัยของแพทย์เป็นสิ่งที่เราอาจจะไม่มีความรู้ แต่สิ่งที่เราสามารถป้องกันตนเองจากโรคเบาหวานได้ คือการดูแลตนเองอย่างดี หลีกเลี่ยงปัจจัยของโรค ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก และลดปริมาณแป้ง น้ำตาล และไขมัน ก็จะทำให้เราห่างไกลโรคเบาหวานได้
เรามักสังเกตเห็นว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุมากๆ มักมีกระบริเวณใบหน้า และผิวส่วนต่างๆ
เชื่อว่าทุกคนคงเคยผ่านการมีอาการปวดศีรษะมาก่อน เพราะอาการปวดศีรษะ มั
โรคข้อรูมาตอยด์ แม้จะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็พบได้ในผู้ที่มีญาติสายตรงเ
อาการสมองเสื่อม อาจพบได้ในผู้สูงอายุที่มีอายุมากแล้ว หรืออาจพบในผู้สูงอายุทั่วไปไ
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เมื่อจะลุกจะนั่ง มักรู้สึกปวดเมื่อย หรือเจ็บปวดตามข้อต่างๆ ของร
อาการกรวยไตอักเสบ เป็นการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ หรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาว