การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเกาต์



โรคเกาต์ เป็นโรคอันดับต้นๆ ที่พบได้ในผู้สูงอายุ เกิดจากการใช้และขับถ่ายสารพวกพิวรีนในร่างกายผิดปกติไป ซึ่งพิวรีนพบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี และเครื่องในสัตว์ เป็นต้น ทำใหเกรดยูริคสะสมในร่างกาย จนเกิดการเจ็บปวดตามข้อกระดูกอย่างรุนแรง ซึ่งโรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

สาเหตุหลักๆ ของโรคเกาต์ เกิดจากการกินและขาดการออกกำลังกาย ส่วนมากพบในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว

เมื่อเป็นโรคเกาต์ จะมีอาการปวด บวม แดง ร้อนตามข้อ และเจ็บ อาจรุนแรงจนถึงกับเดินไม่ได้ก็มี อาการนี้จะเป็นๆ หายๆ โดยข้อที่เป็นบ่อย เช่น ข้อเท้า ข้อหัวแม่เท้าหรือหัวข้อเข่า นอกจากอาการปวดตามข้อแล้วอาจมีอาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน

การดูแลตนเอง เป็นสิ่งที่สำคัญของผู้ป่วยโรคเกาต์ โดยเฉพาะการดูแลเรื่องอาหารการกินเป็นอย่างดี และมีการออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย ซึ่งหากเป็นโรคเกาต์ ควรดูแลตนเองดังต่อไปนี้

- รับประทานอาหารตามปกติ และให้ร่างกายได้รับคุณค่าอาหารที่เพียงพอ ไม่ควรรับประทานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ไม่ควรรับประทานชนิดของอาหารตามที่แพทย์สั่งห้าม

- นอนหลับให้เพียงพอ การที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดอาการโรคเกาต์ชนิดฉับพลันได้ง่าย

- ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง เมื่อจะเดินทางไกล ควรนำยาติดตัวไปด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงจากปัญหายาหมด

- ทานอาหารให้เหมาะกับโรค เช่น งดแอลกอฮอล์ เครื่องในสัตว์ กะปิ ปลากระป๋อง ลดปริมาณเนื้อสัตว์ ถั่ว ผักบางอย่าง เป็นต้น

- สวมรองเท้าขนาดพอเหมาะ ลดความชอกช้ำที่ร่างกายได้รับ เช่น จากการสวมรองเท้าที่คับเกินไป จะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการโรคเกาต์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้

- ควบคุมน้ำหนักของร่างกาย การที่น้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนเกินไปจะทำให้การรักษาโรคเกาต์ยุ่งยาก ซับซ้อน และอาจทำให้อาการโรครุนแรงยิ่งขึ้น

- ควรดื่มน้ำมาก ๆ ผู้ป่วยด้วยโรคเกาต์มักจะมีก้อนนิ่วเกิดขึ้นในไตได้ง่าย การดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว จะช่วยได้มากในเรื่องนี้

อย่างไรก็ตาม โรคเกาต์ เป็นโรคเรื้อรังที่มักรักษาไม่หายขาด จึงสร้างความทรมานในการดำเนินชีวิตได้ ผู้ที่เป็นโรคนี้ จึงควรทานยาตามแพทย์สั่ง รวมถึงปฏิบัติตนตามแพทย์สั่ง ใส่ใจเรื่องโภชนาการเป็นสำคัญ ก็จะช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคผิวหนัง อาการคัน และผื่น กับวัยของผู้สูงอายุ

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ผิวหนังจะเริ่มเหี่ยวลง และอาจมีอาการคันมาก มีผื่นขึ

9 ข้อ พิชิตสุขภาพดี

การดูแลตนเองเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุควรปฏิบัติ และลูกหลานก็ควรให้ความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุของท่านเช

ข้อควรรู้ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

หากคุณสังเกตเห็นความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย เช่น อาการอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก มองเห็

เล็บบอกโรคได้ มาสำรวจเล็บกันเถอะ

เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น ร่างกายส่วนต่างๆ ก็เริ่มเสื่อมโทรมไป รวมถึง

อาการนอนไม่หลับ ก็บ่งบอกโรคได้นะ

ใครๆ ก็พูดว่า “อาการนอนไม่หลับ เป็นโรคของคนแก่” นั่นก็หมายความว่า เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ใครๆ ก็ส

ผู้ป่วยสมองเสื่อม ควรดูแลอย่างไร

ภาวะสมองเสื่อม เป็นภาวะที่ไม่มีผู้สูงอายุท่านใดอยากประสบพบเจอ เพราะอาจทำให้สูญเสี